Page 35 - สรุปติว
P. 35

35


                  ตามจํานวนที่ศาลเห็นสมควร                        คดีที่มีอัตราโทษจําคุก  คดีอื่นนอกจากคดี
                  ระหว่างอัตราขั้นต่ําและขั้นสูง  คดีที่มีอัตราโทษ  อย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป  ในประเภทที่ 1

                  ดังที่ระบุไว้ในตารางนี้        ประหารชีวิต       แต่ไม่ถึงประหารชีวิต   หรือประเภทที่ 2

                       อัตราขั้นต่ําเรื่องละ     4,000 บาท            3,000 บาท             2,000 บาท

                       อัตราขั้นสูงเรื่องละ     25,000 บาท            20,000 บาท            15,000 บาท



                                          ***********************************************
                                 ระเบียบ ก.บ.ศ. ว่าด้วยการบริหารการวิจัยของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2562

          คํานิยาม
                 “ข้าราชการผู้ดําเนินการวิจัย”  ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ลูกจ้าง และพนักงานราชการศาลยุติธรรมที่ได้รับอนุมัติ

          ให้ดําเนินการวิจัย
                 “การวิจัย”  การดําเนินการเพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ทดลองอย่างมีระบบตามหลักวิชาการ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงหรือหลักการ

          ที่จะนําไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางการปฏิบัติ เพื่อปรับปรุง แก้ไข พัฒนาระบบงานและการบริหารจัดการ หรือยกร่างกฎหมาย ระเบียบ
          ข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติ

                 “งานวิจัยศาลยุติธรรม”  งานหรือโครงการวิจัยที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณจากสํานักงานศาลยุติธรรม
                 “งานวิจัยศาลยุติธรรมดีเด่น”  งานวิจัยศาลยุติธรรมที่มีลักษณะเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง ใช้วิธีวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์ที่

          เหมาะสมอย่างยิ่ง มีความชัดเจน และเป็นงานวิจัยที่สําเร็จสมบูรณ์ ได้รับการเผยแพร่ในวางกว้าง และเป็นงานวิจัยที่อาจนําไปใช้ให้เกิด
          ประโยชน์ต่อการบริหารและการพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่สามารถแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

                 “สถาบันวิจัย”   สถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์
          2. ให้มีคณะกรรมการวิจัยคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

                 (1) รองประธานศาลฎีกาที่ได้รับมอบหมายจากประธานศาลฎีกา เป็นประธานกรรมการ
                 (2) เลขาธิการ เป็นกรรมการ

                 (3) ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม จํานวน 2 คน ซึ่งเลขาธิการเป็นผู้เสนอและได้รับความเห็นชอบจาก ก.บ.ศ. เป็นกรรมการ
                 (4) ผู้ทรงคุณวุฒจากสถาบันการศึกษาหรือสถาบันที่ดําเนินการวิจัย จํานวน 2 คน ซึ่งเลขาธิการเป็นผู้เสนอและได้รับความ

          เห็นชอบจาก ก.บ.ศ. เป็นกรรมการ
                 (5) ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมที่เลขาธิการมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ
                 (6) ผู้อํานวยการสถาบันวิจัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

                 (7) ข้าราชการศาลยุติธรรมสถาบันวิจัยที่ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยมอบหมาย จํานวน 1 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
                 ***  กรรมการตาม (3) และ (4) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสองปี

          3. คณะกรรมการวิจัยมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
                 (1) กําหนดทิศทางและทางยุทธศาสตร์งานวิจัยศาลยุติธรรมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายตามนโยบาย

          ด้านวิจัยและพัฒนาของศาลยุติธรรม
                 (2) ส่งเสริมการผลิตงานวิจัยศาลยุติธรรมร่วมกันระหว่างบุคากรภายใน ภายนอก และหน่วยงานตางๆ

                 (3) ให้ความเห็นชอบข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อเสนอขออนุมัติทุนสนับสนุนการวิจัยต่อสํานักงานศาลยุติธรรม
                 (4) คัดเลือกผลงานวิจัย เพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนและผู้สนใจ




                                                     นนทวิกา วงษ์สกุล
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40