Page 36 - สรุปติว
P. 36

36


                 (5) ติดตาม และประเมินผลการดําเนินการตามนโยบายด้านวิจัยและพัฒนา
                 (6) ปฏิบัติงานอื่นใดตามระเบียบนี้และตามที่ได้รับมอบหมาย

          4. งานวิจัยศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบข้อเสนอโครงการวิจัยจากคณะกรรมการวิจัยเสียก่อน โดยข้อเสนอโครงการวิจัยที่จะ
          ได้รับการพิจารณาต้องเป็นไปตามรูปแบบที่คณะกรรมการวิจัยกําหนด และมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับกฎหมายและระบบงานของศาล

          ยุติธรรมในสาขาวิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการหรือสาขาอื่นตามที่คณะกรรรมการวิจัยกําหนด สอดคล้องกับ
          นโยบายประธานศาลฎีกา แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรมและยุทธศาสตร์งานวิจัยศาลยุติธรรมที่
          คณะกรรมกรวิจัยกําหนด

                 ให้สถาบันวิจัยจัดทําตัวอย่างหัวข้อวิจัยที่มีเนื้อหาสาระตามวรรคหนึ่งแล้วประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงาน และบุคคลทั้งภายในและ
          ภายนอกศาลยุติธรรมทราบเป็นระยะ เพื่อประโยชน์ในการจัดทําข้อเสนอโครงการวิจัย

                 การดําเนินงานวิจัยศาลยุติธรรมโดยหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกศาลยุติธรรมนอกจากที่กําหนดในข้อนี้แล้ว ให้เป็นไปตาม
          พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

          5. ข้าราชการผู้ดําเนินการวิจัยต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการวิจัยกําหนด โดยให้เสนอข้อเสนอโครงการวิจัยพร้อม
          ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดําเนินการวิจัยไปยังสถาบันวิจัย ทั้งนี้ หากมีข้อเสนอโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างดําเนินการ ห้ามมิให้เสนอ

          ข้อเสนอโครงการวิจัยใหม่
                 ให้สถาบันวิจัยรวบรวมข้อเสนอโครงการวิจัยของข้าราชการผู้ดําเนินการวิจัยตามวรรคหนึ่ง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการวิจัย
          พิจารณาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ การดําเนินงานวิจัยดังกล่าวต้องไม่กระทบต่อการปฏิบัติราชการประจํา สําหรับข้าราชการตุลาการ ต้อง

          ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หรือข้าราชการศาลยุติธรรม ลูกจ้าง หรือพนักงานราชการต้องได้รับอนุญาตจาก

          คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม
          6. ข้อเสนอโครงการวิจัยใดได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการวิจัยแล้วให้เลขาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการกํากับและประเมินผล
          งานวิจัยและเลขานุการ พร้อมแจ้งข้าราชการผู้ดําเนินการวิจัยทราบ

                 ความเห็นชอบให้ดําเนินการวิจัยแล้วจะต้องแจ้งคณะกรรมการวิจัยพิจารณาเป็นกรณีไป
          7. คณะกรรมการกํากับและประเมินผลงานวิจัย ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมไม่เกิน 3 คน เป็นกรรมการ และ

          เลขานุการ โดยมีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
                 (1) กํากับดูแลการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้ดําเนินการวิจัย ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กําหนด

                 (2) ให้ความเห็นหรือข้อเสนอและในรายงานการวิจัย
                 (3) พิจารณาและประเมินผลงานวิจัยศาลยุติธรรม

                 (4) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่เลขาธิการมอบหมาย
          8. เมื่อข้าราชการผู้ดําเนินการวิจัยดําเนินการวิจัยตามขั้นตอนกระบวนการการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว ให้จัดทํารายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ส่งมอบ
          สถาบันวิจัยจํานวนหนึ่งเล่มพร้อมสําเนาอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและจํานวนที่สถาบันวิจัยกําหนด ภายในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีหรือ

          ตามที่คณะกรรมการวิจัยกําหนด นับแต่วันที่สํานักงานศาลยุติธรรมแจ้งให้ทําวิจัยไม่แล้วเสร็จทันกําหนดและมีความจําเป็น ให้เลขาธิการ
          อนุมัติขยายระยะเวลาต่อไปได้อีกแต่ไม่เกินหกเดือน

                 กรณีที่คณะกรรมการกํากับและประเมินผลงานวิจัยเห็นว่าข้าราชการผู้ดําเนินการวิจัยไม่สามารถปฏิบัติงานวิจัยหรือมีเหตุอื่นใด
          ที่ไม่สามารถปฏิบัติงานวิจัยต่อไปได้ ให้เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการวิจัยเพื่อสั่งยุติการทําวิจัยนั้นต่อไป

          9. ให้คณะกรรมการวิจัยเป็นผู้กําหนดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการวิจัยตามความยากของงานวิจัยศาลยุติธรรม ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองแสน
          บาทต่อเรื่อง เมื่อคณะกรรมการวิจัยเห็นชอบรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์แล้ว ให้สถาบันวิจัยดําเนินการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ

          วิจัยให้แก่ข้าราชการผู้ดําเนินการวิจัย




                                                     นนทวิกา วงษ์สกุล
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41