Page 48 - สรุปติว
P. 48

48


                 1) ศาลชั้นต้นทั่วไปสําหรับกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพ
          ใต้, ศาลอาญาธนบุรี ศาลอาญามีนบุรี,ศาลแพ่งมีนบุรี,ศาลอาญาตลิ่งชัน, ศาลแพ่งตลิ่งชัน,ศาลอาญาพระโขนง, ศาลแพ่งพระโขนง, ศาล

          แขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงดุสิต และศาลแขวงปทุมวัน
                 2) ศาลชั้นต้นทั่วไปสําหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ศาลจังหวัด และศาลแขวงในส่วนภูมิภาค ซึ่งมี

          จํานวน 9 ภาค การบริหารจัดการงานธุรการของศาลจังหวัดและศาลแขวงในภาค 1-9
          17. ศาลชั้นต้นทั่วไปสําหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครดําเนินการโดย
                   สํานักอํานวยการประจําศาลหรือสํานักงานประจําศาลแต่ละศาล โดยมีอธิบดีผู้พิพากษาภาค

          18. ศาลชั้นต้นทั่วไปสําหรับจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครทําหน้าที่

                  บริหารราชการของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีอํานาจหน้าที่เป็นผู้พิพากษาในศาลที่อยู่ในเขต
          อํานาจด้วยผู้หนึ่งและมีสํานักศาลยุติธรรมประจําภาค 1-9
                  ทํางานด้านธุรการ ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั่วไป

          19. องค์คณะผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมี อย่างน้อย 2 คนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกิน 1 คน

          20. หากในจังหวัดนั้นไม่มีศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดมีอํานาจพิจารณาคดีที่อยู่ในอํานาจศาลแขวง
                   โดยองค์คณะผู้พิพากษาคนเดียว
          21. ศาลแขวง เป็นศาลชั้นต้นที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เป็นความผิดเล็กน้อยและคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์พิพาท

          ไม่สูง ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนศาลแขวงมีอํานาจพิจารณา
          พิพากษาคดีและมีอํานาจทําการไต่สวนหรือมีคําสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

                 - พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท
                 -พิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้ง

          จําทั้งปรับ ในกรณีที่จะลงโทษจําคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่าง
          ใดหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้ว จะต้องให้ผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งร่วมเป็นองค์คณะในการพิพากษาคดีด้วย

          22.  ศาลชํานัญพิเศษ ได้แก่
                  ศาลเยาวชนและครอบครัว

                  ศาลภาษีอากรกลาง
                  ศาลล้มละลายกลาง

                  ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
                  ศาลแรงงาน  ซึ่งปัจจุบันศาลแรงงานมีศาลแรงงานกลางและศาลแรงงานภาค 1 – ภาค 9

          23. ศาลชํานัญพิเศษเป็นศาลชั้นต้นที่ใช้วิธีพิจารณา โดยใช้วิธีพิจารณาพิเศษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณา
          คดีของศาลนั้นๆ ซึ่งแตกต่างจากศาลชั้นต้นทั่วไป

          24. โดยผู้พิพากษาศาลชํานัญพิเศษต้องเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะศาลในกลุ่มนี้บางศาล ได้แก่ ศาล
          เยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงาน และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

          25. ศาลที่มีบุคคลภายนอกที่มิใช่ผู้พิพากษาแต่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบเข้า
          มาร่วมพิจารณา ได้แก่

                  ศาลแรงงาน
                  ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

                  ศาลเยาวชนและครอบครัว



                                                     นนทวิกา วงษ์สกุล
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53