Page 45 - สรุปติว
P. 45
45
56. ศาลตามพระธรรมนูญมี 3 ชั้น
ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแรงงาน ศาลทรัพย์สินทางปัญญา ศาลล้มละลาย ศาล
ภาษีอากร ศาลเด็กและเยาวชน ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
ศาลชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชํานัญพิเศษ
ศาลฎีกา
57. เมื่อศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําคุกจําเลย 5 ปี
ศาลต้องออกหมายจําคุกระหว่างอุทธรณ์
58 เมื่อศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้จําเลยจําเลยมีกําหนด5 ปี และปรับ 20,000 บาท
ศาลต้อง หมายจําคุกและกักขังระหว่างอุทธรณ์
59. เมื่อศาลชั้นอุทธรณ์มีคําพิพากษาให้จําคุกจําเลย 4 ปี
ศาลต้องออกหมายจําคุกระหว่างฎีกา
60. เมื่อศาลมีคําพิพากษา แล้วไม่มีคู่ความฝ่ายใดยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา
ศาลต้องออกหมายจําคุกเมื่อคดีถึงที่สุด
61. คดีจัดการพิเศษ หมายถึง คดีที่มีประเด็นไม่ยุ่งยาก สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จด้วยความรวดเร็ว อันได้แก่
- คดีที่จําเลยขาดนัด ไม่ยื่นคําให้การ
- คดีที่มีคําขอให้จําเลยชําระเงินมีจํานวนแน่นอน และมีหนังสือสัญญา บังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งมีประเด็นไม่ยุ่งยาก เช่น กู้ยืม
ค้ําประกัน จํานอง เช่าซื้อ บัตรเครดิต หรือคดีสาขา เช่น คดีร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ขอกันส่วนทรัพย์หรือร้องขัดทรัพย์ ฯ
62. คดีสามัญ หมายถึง คดีที่จําเลยยื่นคําให้การปฏิเสธ และมีประเด็นข้อยุ่งยาก จําเป็นต้องสืบพยาน
63 คดีสามัญพิเศษ หมายถึง คดีสามัญที่มีพยานหลักฐานจํานวนมากเป็นพิเศษ ไม่อาจสืบพยานให้แล้วเสร็จได้โดยเร็ว ศาลจะนัดพิจารณา
คดีประเภทนี้ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นช่วงๆ จนกว่าจะแล้วเสร็จ
**********************************************
นโยบายของประธานศาลฎีกา
1. ยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจําเลย โดยคํานึงถึงเหยื่ออาชญากรรมและความสงบสุขของสังคม
1.1 กําหนดมาตรการในการขอปล่อยชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสะดวกรวดเร็วและ
การลดความเหลื่อมล้ําในการเข้าถึงสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราว
1.2 กําหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมต่อผู้ต้องหา จําเลย เหยื่ออาชญากรรม ผู้เสียหาย ตลอดจนกลุ่มผู้เปราะบางในสังคม ทุก
ขั้นตอนของกระบวนการทางศาล
1.3 เพิ่มบทบาทในการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับขั้นตอนการดําเนินคดีในศาลและให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสิทธิของตนตามกฎหมาย
2. ยกระดับมาตรฐานการพิจารณาคดี เพื่อให้ความยุติธรรมเป็นที่ประจักษ์
2.1 พัฒนาระบบการประชุมปรึกษาคดีขององค์คณะให้เข้มแข็งในทุกชั้นศาล เพื่อยกระดับคุณภาพของคําพิพากษาบนพื้นฐาน
ความเป็นอิสระโดยปราศจากการแทรกแซง
2.2 กําหนดกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมในการพิจารณาพิพากษาคดีและการจัดพิมพ์คําพิพากษาหรือคําสั่งเพื่อให้ความยุติธรรม
ได้ปรากฏในเวลาอันสมควร
2.3 สร้างแบบประเมินที่เป็นมาตรฐานสากลให้ศาลใช้เป็นตัวชี้วัดความสําเร็จในพันธกิจของศาล และการสร้างบุคลากรที่มี
ประสิทธิภาพ
นนทวิกา วงษ์สกุล