Page 44 - สรุปติว
P. 44

44


          35. หมายจําคุกหรือกักขังเมื่อคดีถึงที่สุด สีแดง
          36. หมายปล่อย สีส้ม

          37. หมายทุกประเภท ศาลเป็นผู้ออก
          38. กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการเกิน  15  วัน  โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่าผิดวินัยอย่างร้ายแรง

          39. คดียาเสพติด คดีถึงที่สุดในชั้นอุทธรณ์ ตามพรบ. วิธีพิจารณาคดียาเสพติด ฯ พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ให้ออกหมายจําคุก
          เมื่อคดีถึงที่สุดในวันที่ศาลอ่านคําพิพากษาให้จําเลยฟังหรือถือว่าได้อ่านคําพิพากษาฯ
          40.  เด็ก  หมายถึงบุคคลที่มีอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์

          41. เยาวชน   หมายถึงบุคคลที่มีอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์

          42. เด็ก (ตามพรบ.ศาลเยาวชนฯ) หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุเกินกว่าอายุที่กําหนดไว้ตามมาตรา 73 แห่งประมวลกฎหมายอาญา(เด็ก
          อายุยังไม่เกินสิบปีฯ) หมายถึง เกินกว่า 10 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์
          43. ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในคดี ดังต่อไปนี้

                 (1) คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทําความผิด
                 (2) คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอํานาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง (แต่เด็กต้องไม่เกิน 20 ปี)

                 (3) คดีครอบครัว
                 (4) คดีคุ้มครองสวัสดิภาพ

                 (5) คดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว
          44. ผู้พิพากษาสมทบมีวาระในการดํารงตําแหน่งคราวละ 3 ปี ผู้พิพากษาสมทบเป็นเจ้าพนักงานในตําแหน่งตุลาการตามประมวล

          กฎหมายอาญา และต้องรักษาวินัยเช่นเดียวกับผู้พิพากษา มีคุณสมบัติดังนี้
                 (1) อายุไม่ต่ํากว่า 35 ปี
                 (2) มีหรือเคยมีบุตรหรือเคยอบรมเลี้ยงดูเด็กหรือทํางานเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์เด็กเยาวชนหรือครอบครัวไม่น้อยกว่า 3 ปี

                 (3) ต้องมีความไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี หรือเท่าเท่าหรือเคยเป็นผู้พิพากษาสมทบมาก่อน

                 (4) มีความสุขุมรอบรอบ ทัศนคติ อัธยาศัย และความประพฤติเหมาะสมแก่การพิจารณาคดี
                 (5) ไม่เป็นข้าการหรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการการเมือง สมาชิกรัฐสภาหรือทนายความ
          45.  คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทําความผิด ให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนนั้น ในวันกระทําความผิดได้เกิดขึ้น

          46. ในกรณีที่พนักงานสอบสวนได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ ให้พนักงาน สอบสวนนําตัวเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการ
          จับกุมทันทีทั้งนี้ ภายในเวลา 24 สี่ชั่วโมงนับ แต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนไปถึงที่ทําการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

          47. หากศาลเห็นควรควบคุมตัวเด็กไว้ ให้นําไปไว้ที่สถานพินิจหรือสถานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและตามที่ศาลเห็นสมควร
          48.ห้ามมิให้ควบคุม คุมขัง กักขัง คุมความประพฤติ หรือใช้มาตรการอื่นใดอันมีลักษณะเป็นการจํากัดสิทธิเสรีภาพของเด็กหรือเยาวชน ซึ่ง

          ต้องหาว่ากระทําความผิดหรือเป็นจําเลย เว้นแต่มีหมายหรือคําสั่งของศาล หรือเป็นกรณีการคุมตัว เท่าที่จําเป็น
          49.  กลางคืน  คือ เวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกไปถึงพระอาทิตย์ขึ้น   18.30-06.30  น.

          50. กลางวัน คือ  เวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นไปถึงพระอาทิตย์ตก  07.00-18.00  น.
          51. กลางวันก่อนเที่ยง คือเวลา 7.00-12.00  น.
          52. กลางวันหลังเที่ยง  คือ เวลา  13.00-18.00  น.

          53. กลางคืนหลังเที่ยง คือเวลา 18.00-24.00  น.
          54. กลางคืนก่อนเที่ยง คือเวลา 24.01-06.00  น.

          55. ศาลภายใต้รัฐธรรมนูญมี 4  ศาล ได้แก่  ศาลยุติธรรม  ศาลรัฐธรรมนูญ  ศาลทหาร และ  ศาลปกครอง




                                                     นนทวิกา วงษ์สกุล
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49