Page 49 - สรุปติว
P. 49

49


          26. คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชํานัญพิเศษกฎหมายกําหนดให้อุทธรณ์ได้ที่ ศาลอุทธรณ์ชํานัญพิเศษ
          27. ศาลชั้นอุทธรณ์ คือ   เป็นศาลที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่ง

          กฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ รวมทั้งมีอํานาจพิจารณาคําสั่งอื่นๆ เช่นมีคําสั่งเกี่ยวกับการขอประกันตัวในคดีอาญาและการขอทุเลาการ
          บังคับในคดีแพ่ง เป็นต้น

          28. การพิจารณาของศาลชั้นอุทธรณ์มีลักษณะเป็นการตรวจสอบหรือทบทวนคําพิพากษาของศาลชั้นต้น มิใช่เป็นการพิจารณาคดีใหม่
          29. ศาลชั้นอุทธรณ์มีองค์คณะประกอบด้วยผู้พิพากษากี่ อย่างน้อย 3 คน
          30. ศาลชั้นอุทธรณ์มีทั้งหมด 11 ศาล ประกอบด้วย

                 - ศาลอุทธรณ์ จํานวน 1 ศาล มีอํานาจพิจารณาคดีที่อุทธรณ์คาพิพากษาหรือคําสั่งคดีแพ่ง คดี ผู้บริโภค คดีสิ่งแวดล้อม
          คดีอาญา คดีเลือกตั้ง คดียาเสพติด คดีอาญาทุจริต และคดีค้ามนุษย์

                 - ศาลอุทธรณ์ภาค 1 – 9 จํานวน 9 ศาล มีอํานาจพิจารณาคดีที่อุทธรณ์คาพิพากษาหรือคาสั่ง คดีแพ่ง คดีผู้บริโภค คดี
          สิ่งแวดล้อม คดีอาญา และคดีเลือกตั้ง

                 - ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษ จํานวน 1 ศาล มีอํานาจพิจารณาคดีที่อุทธรณ์คาพิพากษาหรือ คาสั่งคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ
          การค้าระหว่างประเทศ คดีภาษีอากร คดีแรงงาน คดีล้มละลาย และคดีเยาวชนและครอบครัว

          31. ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีที่ทําการอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี
          32. ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีที่ทําการที่ จังหวัดระยอง
          33. ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีที่ทําการที่ จังหวัดนครราชสีมา

          34. ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีที่ทําการที่ จังหวัดขอนแก่น

          35. ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีที่ทําการที่ จังหวัดเชียงใหม่
          36. ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีที่ทําการที่ จังหวัดนครสวรรค์
          37. ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีที่ทําการที่ จังหวัดนครปฐม

          38. ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีที่ทําการที่ จังหวัดภูเก็ต
          39 .สําหรับศาลชั้นอุทธรณ์ภาคเปิดทําการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ภาค 7 และภาค 9 ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชํานัญพิเศษ

          40. ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุด มีประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุขของตุลาการศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
          41. ศาลฎีกามีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์แล้วแต่กรณีตามบทบัญญัติแห่ง

          กฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกา และมีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลฎีกามีอํานาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายเฉพาะ
          42. องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยกี่คน  ตอบ ผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน

          43. บุคคลที่ควรจํา
             1)  ประธานศาลฎีกา คือ  นายไสลเกษ วัฒนพันธ์
             2)  เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรม คือ  นายสราวุธ  เบญจกุล

             3)  เลขาธิการสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม คือ  นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล

             4)  โฆษกสํานักงานศาลยุติธรรม คือ  นายสุริยัณห์  หงษ์วิไล
          44. หลักเกณฑ์การปรับเป็นพนักงานราชการของศาลยุติธรรม
                 1)  เป็นลูกจ้างชั่วคราวซึ่งจ้างโดยเงินงบประมาณมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี

                 2)  มีผลการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 จากผลการปฏิบัติงาน 3 ปีย้อนหลัง
                 3)  ต้องไม่มาปฏิบัติราชการสายเกินกว่า 25 ครั้ง ในปีงบประมาณสุดท้ายก่อนรับการประเมินและ ต้องไม่มาสายเกิน 25 ครั้ง

                    ในสองปีย้อนหลังก่อนปีงบประมาณสุดท้ายก่อนได้รับการประเมิน




                                                     นนทวิกา วงษ์สกุล
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54