Page 14 - บทที่2 60-1
P. 14

การรักษาส่วนใหญ่จะให้การรักษาภาวะนี้ตามสาเหตุที่ท าให้เกิดขึ้น เช่น การผ่าตัดเนื้องอกที่มีการ

               อุดกั้น การรักษาภาวะของการติดเชื้อ ในบางรายอาจพิจารณาให้การผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ าไขสันหลังลงสู่

               ช่องท้อง (Ventriculo-Peritoneal shunt หรือ VP shunt) เพื่อลดปริมาณของน้ าไขสันหลังเพื่อลดโอกาสการ

               เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการมีความดันภายในกะโหลกศีรษะที่เพิ่มสูงขึ้น


               สมองพิการ (Cerebral palsy)


                       สมองพิการเป็นกลุ่มอาการของผู้ป่วยที่มีความพิการอย่างถาวรของสมองซึ่งความพิการดังกล่าวนี้

               มักจะคงที่และไม่ลุกลามต่อไปแต่มีผลกระทบท าให้การประสานงานของการท างานของกล้ามเนื้อมีความ

               บกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงตัวรวมถึงมีท่าทางของร่างกายที่ผิดปกติ เช่น มีการ
               เกร็งของกล้ามเนื้อใบหน้า ลิ้น ล าตัว มีการทรงตัวในท่านั่ง ยืน เดิน ที่ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้ในรายที่มี

               ความผิดปกติอย่างรุนแรง นอกจากนี้อาจพบว่ามีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการ

               มองเห็น การได้ยิน การเรียนรู้ สติปัญญาและอาจมีโรคลมชักร่วมด้วย เป็นต้น


                       สมองพิการนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของ

               สมองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงหลังคลอด โดยทั่วไปแบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3

               ระยะ คือ


                       ระยะที่ 1 ระยะที่อยู่ในครรภ์มารดาหรือระยะก่อนคลอด (prenatal period) ซึ่งมีสาเหตุได้แก่ การ

               ติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์  เช่น หัดเยอรมัน ซิฟิลิส เอดส์ เป็นต้น การขาดออกซิเจนของทารกใน

               ครรภ์ เช่น มารดาที่มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์อย่างรุนแรงหรือมีการหลุดลอกตัวของรกก่อนก าหนด

               มารดาขาดอาหารหรือมีภาวะซีดจากการขาดสารอาหารที่มีคุณค่า เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินต่างๆ

               มารดามีโรคประจ าตัว เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งส่งผลให้ทารกมีขนาดตัวใหญ่ผิดปกติท าให้เกิดอันตรายจาก
               การคลอดได้ ยาและสารพิษบางอย่างที่มารดาได้รับมากเกินปกติ เช่น ตะกั่ว บุหรี่ สุราหรืออาจเกิดจาก

               ความผิดปกติของสมองโดยก าเนิด เช่น ภาวะน้ าคั่งในกะโหลกศีรษะ สมองไม่เจริญตามปกติรวมถึงความ

               ผิดปกติของโครโมโซม เป็นต้น


                       ระยะที่ 2 ระยะระหว่างคลอด (perinatal period) ซึ่งมีสาเหตุได้แก่ ทารกคลอดก่อนก าหนดและมี

               น้ าหนักตัวน้อย การขาดออกซิเจนระหว่างคลอดจากการคลอดล าบากหรือคลอดทารกท่าผิดปกติ  การ

               คลอดโดยใช้ยาระงับปวดบางชนิด เช่น มอร์ฟีน หรือการฉีดยาเข้าช่องไขสันหลังเพื่อระงับอาการปวด

               ระหว่างคลอดอาจเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนในทารกได้




                                                                                  สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19