Page 5 - บทที่2 60-1
P. 5
พยาธิก าเนิด
ความผิดปกติแต่ก าเนิดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
1. ปัจจัยภายใน (Internal factor) ประกอบด้วย
1.1 ไม่ทราบสาเหตุ (spontaneous defect) เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด เนื่องจากยังไม่สามารถ
วิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงในปัจจุบัน
1.2 กรรมพันธุ์ (inherited) เป็นสาเหตุที่พบว่ามีความเสี่ยงสูงที่สุดในการเกิดความผิดปกติแต่
ก าเนิด ซึ่งในกลุ่มคนผิวขาวบางประเทศพบว่ามีอัตราการเกิดความผิดปกติจากกรรมพันธุ์
มากกว่ากลุ่มคนผิวเหลืองอย่างมีนัยส าคัญ
2. ปัจจัยภายนอก (External factor) ประกอบด้วย
2.1 เศรษฐานะ (socioeconomic) มักพบว่าอัตราการเกิดความผิดปกติแต่ก าเนิดในทารกมักพบใน
แถบประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีส่งผลให้มารดาเกิดภาวะได้รับ
สารอาหารที่จ าเป็นไม่เพียงพอจนเกิดความผิดปกติทางภูมิคุ้มกันท าให้เกิดความเสี่ยงต่อการ
ติดเชื้อของร่างกายตามมาร่วมกับสภาพความเป็นอยู่ที่แออัดในสังคมรวมถึงการขาดความรู้
ความเข้าใจในการป้องกันโรคบางอย่างที่ถูกต้อง
2.2 การติดเชื้อ (infection) พบว่ามารดาที่มีการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์โดยเฉพาะการติดเชื้อ
ซิฟิลิส (syphilis) หัดเยอรมัน (rubella) เป็นปัจจัยส าคัญที่ท าให้ทารกมีความพิการแต่ก าเนิด
2.3 การขาดสารอาหาร (malnutrition) ได้แก่ การขาดสารไอโอดีนรวมถึงแร่ธาตุที่จ าเป็นต่อการ
เจริญเติบโตของทารกและการพัฒนาของโครงสร้างทางระบบประสาท เช่น กรดโฟลิก เป็นต้น
2.4 โรคประจ าตัว ได้แก่ มารดาที่เป็นโรคเบาหวาน
2.5 สิ่งแวดล้อม (environmental) ได้แก่ การได้รับยา สารพิษ สารฆ่าแมลง การสูบบุหรี่ การติด
สุราเรื้อรัง เป็นต้น
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560