Page 13 - บทที่1
P. 13
เส้นประสาทเนื่องจากรอยโรคของหลอดเลือดเกิดได้ที่ต าแหน่งใดต าแหน่งหนึ่งจะสามารถให้อาการของ
ความผิดปกติได้หลายอย่างที่เกิดจากการท างานของสมองที่ถูกเลี้ยงด้วยหลอดเลือดนั้นๆ โดยกลไกการ
เกิดโรคหรือความผิดปกตินี้น่าจะเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดมากกว่าการแตกของหลอดเลือด
เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะที่เพิ่มสูงขึ้น (Increased intracranial
pressure) ปรากฏให้เห็นหรืออีกสมมติฐานหนึ่งของความผิดปกติของหลอดเลือดนี้อาจเกิดจากการอักเสบ
ของหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุอีกก็ได้ในขณะที่หากเป็นรอยโรคของเส้นประสาทแสดงว่าน่าจะมีรอยโรค
กระจายทั่วไปตามเส้นประสาทในสมอง
3. การวินิจฉัยเบื้องต้นสามารถตั้งสมมติฐานว่าเป็นการตีบตันของหลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน
(acute vascular obstruction) หรือการแตกของหลอดเลือดท าให้มีเลือดออกอย่างเฉียบพลัน (acute
vascular hemorrhage) ได้ส่วนการวินิจฉัยแยกโรคอาจเป็นการอักเสบของเส้นประสาท การอักเสบของ
หลอดเลือด ตลอดจนความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
4. ผลการตรวจทางรังสีวินิจฉัยของผู้ป่วยรายนี้จากการส่งตรวจทางสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ผลปรากฏว่ามีลักษณะของการขาดเลือดที่บริเวณสมองซีกซ้ายบริเวณต าแหน่ง frontal lobe เข้าได้กับการ
ตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ชื่อว่า middle cerebral ข้างซ้าย
5. การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย คือ สมองขาดเลือดจากหลอดเลือดสมองตีบตันเฉียบพลันในสมองซีกซ้าย
(Acute ischemic cerebral infarction in left cerebral hemisphere)
สรุป
หลักการวินิจฉัยโรคของระบบประสาทนั้นสามารถท าได้โดยอาศัยข้อมูลที่ส าคัญของประวัติอาการ
เจ็บป่วย การตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจร่างกายทางระบบประสาทเพื่อน าข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาระบุ
ต าแหน่งของรอยโรคและพิจารณากลไกของการเกิดโรคโดยอาศัยความรู้ทางประสาทกายวิภาคและ
ประสาทสรีรวิทยาเพื่อน ามาวิเคราะห์และให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อตามล าดับ การตรวจเพิ่มเติมเป็น
กระบวนการที่ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยเพื่อให้มีความถูกต้องแม่นย ามากขึ้นแต่แพทย์มีความจ าเป็นต้อง
ค านึงถึงสิทธิผู้ป่วย ผลแทรกซ้อนรวมถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่างๆ ความรู้
ความสามารถและทักษะทางคลินิกต่างๆ นั้นนักศึกษาแพทย์ควรมีการฝึกฝนให้มีความรู้ความช านาญอยู่
เสมอจนกระทั่งส าเร็จการศึกษาไปประกอบวิชาชีพและด ารงไว้ซึ่งการรักษาให้เป็นไปตามมาตรฐานของผู้
ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยค านึงถึงสิทธิผู้ป่วยและความคุ้มค่าในทางการแพทย์เป็นส าคัญ
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560