Page 12 - บทที่1
P. 12

วินิจฉัยขั้นต้นหรืออาจขัดแย้งกับการวินิจฉัยขั้นต้นก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลของการเจ็บป่วยทั้งหมดที่น ามา

               วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ


























                                  รูปที่ 1-3 แสดงตัวอย่างแนวทางการวินิจฉัยการเกิดโรคในระบบประสาท
                                                         กรณีศึกษา



                     ผู้ป่วยชายไทยคู่ อายุ 60 ปี มีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกขวาหลังตื่นนอนตอนเช้า เวลาเดินสังเกตว่าจะเดิน

                     เซไปด้านขวา ส่องกระจกพบว่ามุมปากขวาตก เวลาแปรงสีฟันใช้มือขวาได้ไม่ถนัด รู้สึกพูดล าบากเวลาออก
                        เสียง ไม่มีอาการชาร่วมด้วย นักศึกษามีแนวทางการวินิจฉัยความผิดปกติของผู้ป่วยรายนี้อย่างไร



                     จากตัวอย่างกรณีศึกษาข้างต้นใช้แนวทางการวินิจฉัยเพื่อน ามาตั้งสมมติฐานของโรคตามล าดับได้

               ดังต่อไปนี้


                     1.  ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงซีกขวา (Right hemiparesis) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในวิถีประสาทสั่ง
               การของกล้ามเนื้อซึ่งอยู่ที่บริเวณสมองและไขสันหลัง (รอยโรคนี้น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลาง

               มากกว่าส่วนปลาย) และเนื่องจากผู้ป่วยมีอาการมุมปากตกร่วมด้วยซึ่งน่าจะเป็นความผิดปกติของวิถี

               ประสาทสั่งการของเส้นประสาทสมอง (corticobulbar tract) ร่วมกับมีปัญหาในการใช้ภาษาโดยเฉพาะการ
               ออกเสียง (motor aphasia) ท าให้สนับสนุนว่าน่าจะเป็นรอยโรคของสมองมากกว่าไขสันหลัง


                     2. กลไกการเกิดโรคเป็นแบบเฉียบพลัน (Acute onset) หากพิจารณาตามโครงสร้างของอวัยวะที่ท า
               ให้เกิดโรคแบบเฉียบพลันนี้อาจคิดถึงความผิดปกติของหลอดเลือดหรือเส้นประสาทภายในสมองซึ่งอาจ

               เกิดจากการตีบตัน การติดเชื้อหรือการอักเสบ ซึ่งโครงสร้างนี้น่าจะเป็นรอยโรคของหลอดเลือดมากกว่า





                                                                                  สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16