Page 7 - บทที่1
P. 7
o การด าเนินโรคคงที่ (static course) เป็นลักษณะการด าเนินโรคที่เกิดขึ้นและคงอยู่เท่าเดิมโดยความ
ผิดปกตินั้นไม่ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรง เช่น ความผิดปกติแต่ก าเนิด การเสื่อมสภาพชนิดที่ไม่รุนแรง
o การด าเนินโรคเพิ่มขึ้น (progressive course) เป็นลักษณะการด าเนินโรคที่ความผิดปกตินั้น
ก่อให้เกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นตามล าดับ เช่น ความผิดปกติของหลอดเลือด การติดเชื้อ การอักเสบ
ความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ซึ่งการด าเนินโรคที่เพิ่มขึ้นนี้อาจมีความรวดเร็วหรือค่อยๆ ด าเนินไป
อย่างช้าๆ แตกต่างกันออกไปได้ขึ้นกับลักษณะของรอยโรค
o การด าเนินโรคแบบเป็นชั่วคราว (paroxysmal course) เป็นลักษณะการด าเนินโรคที่ความผิดปกติ
นั้นเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวแล้วหายแต่สามารถเกิดขึ้นซ้ าอีกได้ ซึ่งอาการส่วนใหญ่มักจะแสดงออกในรูปแบบที่
ใกล้เคียงกับอาการที่เกิดขึ้นของเดิม เช่น อาการชัก หมดสติชั่วคราว กลุ่มอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ เป็น
ต้น ความผิดปกติเหล่านี้มีความจ าเป็นต้องท าการหาสาเหตุเสมอเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ าของอาการ
o ด าเนินโรคแบบเป็นๆ หายๆ (relapsing and remitting course) เป็นลักษณะการด าเนินโรคที่ความ
ผิดปกตินั้นเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ มีช่วงเวลาของการเกิดขึ้นของโรคและช่วงเวลาการหายของโรค เช่น โรค
ลมชัก อาการปวดศีรษะ การเคลื่อนไหวผิดปกติ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบ Myasthenia gravis เป็นต้น
การด าเนินโรคในลักษณะนี้อาจทิ้งร่องรอยของความผิดปกติทางระบบประสาทเกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละราย
แตกต่างกันออกไป
สาเหตุการเกิดโรค
สาเหตุการเกิดโรคทางระบบประสาทนั้นไม่แตกต่างจากกลไกของการเกิดโรคในระบบอื่นๆ ของ
ร่างกายจะใช้ลักษณะที่ส าคัญของประวัติอาการเจ็บป่วย การด าเนินโรคและความผิดปกติของระบบอื่นๆ
มาช่วยในการระบุกลไกการเกิดโรค การทราบกลไกของการเกิดโรคจะช่วยเป็นแนวทางในการสืบค้นความ
ผิดปกติได้อย่างถูกต้อง
สาเหตุการเกิดโรคทางระบบประสาท แบ่งตามกลไกการเกิดโรคได้ดังต่อไปนี้
1. การติดเชื้อ (Infection) ลักษณะที่ส าคัญเมื่อเกิดการติดเชื้อ คือ การที่มีอุณหภูมิของร่างกายเพิ่ม
สูงขึ้นเกิดจากการตอบสนองของร่างกายจากภาวะภูมิคุ้มกันต่อเชื้อจุลชีพทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่าง
ของโรคเช่น เยื้อหุ้มสมองอักเสบ สมองติดเชื้อ ฝีในเนื้อสมอง เป็นต้น
2. การอักเสบ (Inflammation) ลักษณะที่ส าคัญของการอักเสบ คือ การตอบสนองของร่างกายเพื่อ
ต่อต้านเชื้อจุลชีพหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสิ่งที่กระตุ้น เช่น การเสื่อมสภาพ การได้รับอุบัติเหตุ หรือได้รับ
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560