Page 3 - บทที่1
P. 3
หลักการวินิจฉัยโรคในระบบประสาท
(PRINCIPLE OF DIAGNOSIS IN NERVOUS SYSTEM)
บทน า
การวินิจฉัยโรคหรือพยาธิสภาพทางระบบประสาทอาศัยประวัติลักษณะอาการเจ็บป่วยรวมถึงการ
ด าเนินโรคซึ่งเป็นข้อมูลส าคัญในการตั้งสมมติฐานของการเกิดโรคและการแยกโรคออกจากระบบอื่นๆ ของ
ร่างกาย จากนั้นจึงท าการตรวจร่างกายเพื่อสนับสนุนหรือขัดแย้งกับข้อสมมติฐานของความผิดปกติ
ดังกล่าว การ ส่วนการจะให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคทางระบบประสาทอะไรนั้นขึ้นอยู่กับกลไกของการ
เกิดโรคแต่ละประเภทซึ่งแตกต่างกันออกไป ตลอดจนการให้การวินิจฉัยแยกโรคที่อาจมีลักษณะของกลไก
การเกิดโรคที่มีความคล้ายคลึงกัน การตรวจเพิ่มเติมประเภทอื่นๆ อาจเป็นการช่วยเพิ่มเติมความแม่นย า
ของการวินิจฉัยให้มากยิ่งขึ้น ได้แก่ การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจร่างกายทางระบบประสาทจะ
มุ่งเน้นไปที่การวางต าแหน่งของรอยโรคเป็นส าคัญ การถ่ายภาพทางรังสี เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง
มากที่สุดขึ้นอยู่กับความผิดปกติที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละราย
ค าถามชวนคิด
ผู้ป่วยชาย อายุ 20 ปี มีอาการอ่อนแรงของต้นแขน
โดยเฉพาะเวลาหยิบของในที่สูง มีอาการอ่อนแรงมากขึ้น
เวลาออกแรง แพทย์ท าการซักประวัติและตรวจร่างกาย
พบว่าผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต้นทั่ว
ทั้งตัวและมองเห็นภาพซ้อนให้การวินิจฉัยว่าเป็น
โรคมัยแอสทีเนีย เกรวิส (Myasthenia gravis)
นักศึกษาทราบหรือไม่ว่าแพทย์มีแนวทางในการให้การ
วินิจฉัยผู้ป่วยรายนี้ได้อย่างไร
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560