Page 9 - บทที่1
P. 9

สาเหตุการเกิดโรคทางระบบประสาทสามารถแบ่งตามโครงสร้างอวัยวะได้ดังต่อไปนี้


                   1.  หลอดเลือด (Vascular) อาการส าคัญที่บ่งบอกว่ามีความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่ การเกิดขึ้น

               ของอาการอย่างฉับพลันหรือเฉียบพลันทันที เช่น หลอดเลือดเลี้ยงสมองตีบหรือแตก (cerebrovascular

               disease)

                   2.  เส้นประสาท (Nerve) อาการส าคัญของสาเหตุนี้ ได้แก่ อาการที่เกิดจากความผิดตามหน้าที่การ

               ท างานของเส้นประสาทนั้นๆ เช่น อัมพาตหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy) จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการแสดงของ

               ความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7
                   3.  กล้ามเนื้อ (Muscle) ความผิดปกติของกล้ามเนื้อมักเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่มาก

               ผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะชนิดเทนชั่น (tension headache) ซึ่งเกิดจากการหดตัวที่มากผิดปกติของกล้ามเนื้อ

               รอบศีรษะ

                   4.  โครงสร้างรอบกะโหลกศีรษะ (Paracranial structures) โครงสร้างรอบกะโหลกศีรษะที่ส่งผลให้เกิด

               ความผิดปกติรอบศีรษะเนื่องจากการส่งสัญญาณความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นไปแปลผลในบริเวณเดียวกัน เช่น

               ผู้ป่วยไซนัสอักเสบ (sinusitis) อาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วยเนื่องจากการรับความรู้สึกของเส้นประสาท

               ไปแปลผลที่สมองส่วนรับความรู้สึกที่เดียวกัน


               การวินิจฉัยและการส่งตรวจ


                        การวินิจฉัยโรคเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ การตรวจร่างกายทั่วไปและ
               การตรวจร่างกายทางระบบประสาทมาพิจารณาต าแหน่งของรอยโรคโดยอาศัยข้อมูลของกลไกการเกิด

               โรคที่เป็นไปได้ทั้งหมดน ามาเรียบเรียงเพื่อท าการตั้งสมมติฐานและให้การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น (Provisional

               diagnosis) ซึ่งเป็นการวินิจฉัยจากข้อมูลที่มีนั้นว่าสามารถเข้าได้กับโรคใดโรคหนึ่งมากที่สุดในเบื้องต้นและ

               ให้การวินิจฉัยแยกโรค (Differential diagnosis) ที่สามารถเป็นไปได้อีกเนื่องมาจากมีอาการหรืออาการ

               แสดงที่คล้ายคลึงกัน การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นอาจไม่ใช่การวินิจฉัยที่ถูกต้องเสมอไปจนกว่าจะมีข้อมูลมา

               สนับสนุนอย่างเพียงพอทั้งหมดเพื่อให้การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย (Definite diagnosis)


                       การตรวจส่งวินิจฉัย (Investigation) เป็นการหาข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรค เช่น การ

               ตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะหรือสิ่งส่งตรวจทางร่างกายอื่นๆ การถ่ายภาพทางรังสีวินิจฉัย เช่น เอกซเรย์

               คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography, CT) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) เพื่อ

               ประเมินความผิดปกติในด้านโครงสร้างทางระบบประสาท รวมถึงการตรวจประเภทอื่นๆ เพื่อประเมินความ





                                                                                  สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14