Page 51 - ทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา
P. 51

41


                         การจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ น าผลจากการปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

                     เสริมพลังของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการชื่นชม  ท าให้เป็นกระบวนการแห่งความสุข
                     ความภูมิใจ และการเคารพเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน ทักษะเหล่านี้น าไปสู่การสร้างนิสัยคิดบวก ท า

                     บวก มองโลกในแง่ดี และสร้างวัฒนธรรมในองค์กรที่ผู้คนสัมพันธ์กันด้วยเรื่องราวดี ๆ ด้วยการ

                     แบ่งปันความรู้  และแลกเปลี่ยนความรู้จากประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  โดยที่กิจกรรมเหล่านี้

                     สอดคล้อง แทรกอยู่ในการท างานประจ า ทุกเรื่อง ทุกเวลา……


                                                                    ศ.นพ.วิจารณ์วานิช






                  ความส าคัญของการจัดการเรียนรู้


                           หัวใจของการจัดการความรู้ คือ  การจัดการความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล  โดยเฉพาะบุคคลที่มี

                  ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจนประสบผลส าเร็จ  กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง  คนกับคน

                  หรือกลุ่มกับกลุ่ม  จะก่อให้เกิดการยกระดับความรู้ที่ส่งผลต่อเป้ าหมายของการ  ท างาน  นั่นคือ  เกิดการ
                  พัฒนาประสิทธิภาพของงาน  คนเกิดการพัฒนา  และส่งผลต่อเนื่องไปถึงองค์กร  เป็นองค์กรแห่งการ

                  เรียนรู้  ผลที่เกิดขึ้นกับการจัดการความรู้จึงถือว่ามีความส าคัญต่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กร  ซึ่ง

                  ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อบุคคล กลุ่ม หรือองค์กร มีอย่างน้อย 3 ประการ คือ

                           1.  ผลสัมฤทธิ์ของงาน หากมีการจัดการความรู้ในตนเอง หรือในหน่วยงาน องค์กร จะเกิด
                  ผลส าเร็จที่รวดเร็วยิ่งขึ้น  เนื่องจากความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนางานนั้นเป็นความรู้ที่ได้จากผู้ที่ผ่านการ

                  ปฏิบัติโดยตรง  จึงสามารถน ามาใช้ในการพัฒนางานได้ทันที  และเกิดนวัตกรรมใหม่ในการท างาน

                  ทั้งผลงานที่เกิดขึ้นใหม่ และวัฒนธรรมการท างานร่วมกันของคนในองค์กรที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน
                           2.    บุคลากร การจัดการความรู้ในตนเองจะส่งผลให้คนในองค์กรเกิดการพัฒนา ตนเองและ

                  ส่งผลรวมถึงองค์กร  กระบวนการเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน  จะท าให้บุคลากรเกิด

                  ความมั่นใจในตนเอง  เกิดความเป็นชุมชนในหมู่เพื่อนร่วมงาน  บุคลากรเป็นบุคคลเรียนรู้และส่งผลให้

                  องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อีกด้วย
                           3.  ยกระดับความรู้ของบุคลากรและองค์กร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะท าให้บุคลากรมีความรู้

                  เพิ่มขึ้นจากเดิม เห็นแนวทางในการพัฒนางานที่ชัดเจนมากขึ้น และเมื่อน าไปปฏิบัติจะท าให้บุคคลและ

                  องค์กรมีองค์ความรู้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในเรื่องที่สามารถน าไปปฏิบัติได้  มีองค์ความรู้ที่จ าเป็นต่อ
                  การใช้งาน และจัดระบบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56