Page 52 - ทักษะการเรียนรู้ ระดับประถมศึกษา
P. 52

42




                         การที่เรามีการจัดการความรู้ในตนเอง  จะพบว่าความรู้ในตัวเราที่คิดว่าเรามีเยอะแล้วนั้น

                  จริง ๆ แล้วยังน้อยมากเมื่อเทียบกับบุคคลอื่น และหากเรามีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคคล

                  อื่น จะพบว่ามีความรู้บางอย่างเกิดขึ้นโดยที่เราคาดไม่ถึง และหากเราเห็นแนวทาง มีความรู้แล้วไม่

                  น าไปปฏิบัติ ความรู้นั้นก็จะไม่มีคุณค่าอะไรเลย หากน าความรู้นั้นไป แลกเปลี่ยนและน าไปสู่การ
                  ปฏิบัติที่เป็นวงจรต่อเนื่องไม่รู้จบ จะเกิดความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมาก หรือที่เรียกว่า ยิ่งให้ ยิ่งได้"



                  หลักการของการจัดการความรู้


                                   การจัดการความรู้  ไม่มีสูตรส าเร็จในวิธีการของการจัดการเพื่อให้บรรลุเป้ าหมายใน  เรื่องใด
                  เรื่องหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับปณิธานความมุ่งมั่นที่จะท างานของตนหรือกิจกรรมของกลุ่มให้ดีขึ้นกว่าเดิม แล้ว

                  ใช้วิธีการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรมในงาน  มีหลักการส าคัญ

                  4  ประการ ดังนี้
                           1.  ให้คนหลากหลายทักษะ  หลากหลายวิธีคิด  ท างานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์  การจัดการ

                  ความรู้ที่มีพลังต้องท าโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อหรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลัง

                  คือ มีเป้ าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน) ถ้ากลุ่มที่ ด าเนินการจัดการความรู้ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือน ๆ  กัน

                  การจัดการความรู้  จะไม่มีพลังในการจัดการความรู้  ความแตกต่างหลากหลาย  มีคุณค่ามากกว่าความ
                  เหมือน

                           2.  ร่วมกันพัฒนาวิธีการท างานในรูปแบบใหม่ ๆ  เพื่อบรรลุประสิทธิภาพ  และประสิทธิผล

                  ที่ก าหนดไว้ ประสิทธิผลประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ

                                2.1  การตอบสนองความต้องการ  ซึ่งอาจเป็นความต้องของตนเอง  ผู้รับบริการ
                                      ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่ก าหนดโดยผู้น าองค์กร

                                2.2   นวัตกรรม ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้

                                2.3   ขีดความสามารถของบุคคล และขององค์กร
                                2.4   ประสิทธิภาพในการท างาน

                           3.  ทดลองและการเรียนรู้  เนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์

                  จึงต้องทดลองท าเพียงน้อย ๆ ซึ่งถ้าล้มเหลวก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น
                  ถ้าได้ผลดีจึงขยายการทดลอง คือ ปฏิบัติมากขึ้น จนในที่สุดขยาย เป็นวิธีท างานแบบใหม่ หรือที่เรียกว่า

                  ได้วิธีการปฏิบัติที่ส่งผลเป็นเลิศ (best  practice) ใหม่นั่นเอง
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57