Page 144 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 144
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๑๑๖
พิเคราะห์แล้ว คดีมีประเด็นข้อพิพาทยุ่งยาก เห็นควรชี้สองสถาน สอบคู่ความแล้ว
แถลงไม่ค้าน
พิเคราะห์ค าฟ้องและค าให้การแล้ว คดีมีประเด็นข้อพิพาทดังนี้ . . . . .” (ก าหนดหน้าที่
น าสืบและนัดสืบพยานต่อไป แต่หากเห็นว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทไม่ยุ่งยากก็สั่งงดชี้สองสถาน
แล้วนัดสืบพยานต่อไปตามรูปคดี)
ในกรณีศาลจังหวัดสงขลาไม่ยินยอมรับโอนคดี ให้ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ส่งเรื่องให้
ประธานศาลอุทธรณ์ชี้ขาด ไม่ว่าศาลชั้นต้นที่มีคดีขอรวมการพิจารณาหรือศาลที่รับโอนจะอยู่
ในเขตอ านาจของศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ค าสั่งชี้ขาดดังกล่าวเป็นที่สุดตามมาตรา
๒๘ วรรคสอง
๓. ผลการรวมพิจารณาคดี
๓.๑ การยื่นบัญชีพยานในคดีที่รวมการพิจารณา ให้ยื่นไว้ในส านวนหลักโดยระบุเลขคดี
ที่ผู้ยื่นเป็นคู่ความในส านวนนั้น
คดีที่ศาลรวมการพิจารณา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันทุกส านวนได้ยื่นบัญชี
พยานไว้ในส านวนคดีหนึ่ง โดยระบุเลขคดีเพียงคดีเดียวเท่านั้น แต่ชื่อคู่ความก็ลงชื่อโจทก์
กับพวกและชื่อจ าเลยกับพวก ชื่อพยานก็ระบุชื่อโจทก์ทุกส านวนอ้างตนเองเป็นพยาน พยาน
เอกสารก็อ้างเอกสารของโจทก์ทุกคน ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการยื่นบัญชีพยานรวมกันทุกส านวน
แม้จะมิได้ใส่เลขคดีให้ครบถ้วนก็เป็นความบกพร่องเล็กน้อย โจทก์จึงมีสิทธิน าพยานเข้าสืบ
ตามบัญชีพยานที่ระบุไว้นั้นได้ทุกส านวน (ฎีกาที่ ๑๓๙๑ - ๑๓๙๘/๒๕๐๙)
๓.๒ การพิจารณาคดีที่รวมการพิจารณา ศาลย่อมพิพากษาคดีเหล่านั้นไปในค าพิพากษา
ฉบับเดียวกัน เพราะเป็นการสะดวกแก่ศาลที่ไม่ต้องท าค าพิพากษาหลายฉบับ แต่บางคดีที่รวม
การพิจารณาด้วยกัน อาจไม่สะดวกในการที่จะพิพากษารวมกันหรือมีข้อหาใดไม่เกี่ยวข้องในคดี
(มาตรา ๒๙) ศาลอาจแยกพิจารณาก็ได้โดยพิพากษาคดีเหล่านั้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อนแล้ว
จึงพิพากษาเรื่องอื่น ๆ ต่อไปภายหลังก็ได้ (มาตรา ๑๓๙) และศาลที่รับโอนคดีที่สั่งแยก
ย่อมพิพากษาไปได้
๓.๓ แม้ศาลจะอนุญาตให้รวมพิจารณาคดีสองส านวนเข้าด้วยกัน แต่การพิจารณาว่าจะ
อุทธรณ์ฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นรายคดี (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๔๐๒/๒๕๒๒)
และในชั้นตรวจรับอุทธรณ์ฎีกา ให้ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าอุทธรณ์ฎีกาในส านวนใดหรือทุกส านวน