Page 147 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 147

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๑๑๙


                             ข้อสังเกต

                             การแยกคดีนั้น วิธีด าเนินการคือ ศาลจะมีค าสั่งให้ถ่ายส าเนาค าฟ้องและค าให้การ

                  แล้วตั้งส านวนและเลขคดีใหม่



                  ๒.  การแยกคดีที่มีการร้องสอด

                        ในกรณีมีการร้องสอด ต้องพิจารณาว่าร้องสอดเข้ามาตามมาตรา ๕๗(๑) หรือ (๒)

                  หากร้องสอดตามมาตรา ๕๗ (๑) ผู้ร้องก็มีสิทธิเข้ามาเป็นคู่ความในคดีโดยศาลไม่สั่งแยกคดี

                  แต่ถ้าร้องสอดตามมาตรา ๕๗ (๒) จึงให้พิจารณาว่าต้องห้ามตามมาตรา ๕๘ วรรคสอง หรือไม่

                  หากต้องห้ามก็ให้ศาลสั่งแยกคดี  กรณีร้องสอดตามมาตรา ๕๗(๑) ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๕๘

                  วรรคสอง จึงสั่งแยกคดีไม่ได้


                        ตัวอย่าง
                        โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจ าเลยท านิติกรรมขายที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา  ถ้าไม่สามารถขายได้


                  ขอให้คืนเงินที่จ าเลยรับไปและใช้ค่าเสียหาย

                        ในระหว่างที่ยังส่งหมายให้จ าเลยไม่ได้  ผู้ร้องสอดยื่นค าร้องว่า  ที่ดินรายพิพาทเป็นของ

                  ผู้ร้อง  ผู้ร้องจึงขอเข้าเป็นจ าเลยต่อสู้คดีกับโจทก์และได้ท าค าให้การยื่นมาด้วยใจความว่าที่ดิน

                  เป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจ าเลย  จ าเลยไม่มีสิทธิเอาไปขายให้โจทก์

                        โจทก์คัดค้าน ไม่ยอมให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นจ าเลย

                        ศาลชั้นต้นเห็นว่า  หากได้แยกพิจารณาข้อหาตามฟ้องเดิมและตามค าร้องแล้วจะสะดวก

                  แก่การพิจารณา อาศัยตามมาตรา ๒๙ วรรคท้าย จึงสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้

                  หากผู้ร้องจะคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องก็ให้ฟ้องเป็นคดีอีกส านวนหนึ่ง

                        ผู้ร้องสอดอุทธรณ์

                        ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

                        ผู้ร้องสอดฎีกา

                        ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ผู้ร้องได้ร้องสอดเข้ามาว่า ที่ดินที่โจทก์กล่าวหารายนี้เป็นของผู้ร้อง

                  ไม่ใช่ของจ าเลยดังโจทก์ฟ้อง  เป็นการโต้แย้งคัดค้านข้อกล่าวหาของโจทก์อันเป็นคดีที่พิพาท

                  ถึงที่ดินรายเดียวกัน   ศาลฎีกาเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิที่จะเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอดตาม

                  มาตรา ๕๗ (๑) ไม่ใช่มาตรา ๕๗ (๒)  ฉะนั้นข้อห้ามตามมาตรา ๕๘ วรรคสอง ที่ว่า  ห้ามมิให้
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152