Page 152 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 152
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๑๒๔
มาตรา ๒๔ เป็นค าสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์เห็นว่าศาลชอบที่จะสืบพยานโจทก์ต่อไป โจทก์ต้อง
โต้แย้งค าสั่ง มิฉะนั้นต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๒๖(๒) (ฎีกาที่ ๒๑๕๘/๒๕๓๗)
๓.๕ หากศาลมิได้วินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นคุณแก่ฝ่ายที่ยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างแล้ว
ไม่เรียกว่าเป็นค าสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นแต่เป็นค าสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจะอุทธรณ์ฎีกาทันทีไม่ได้
เช่น จ าเลยขอให้ศาลชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ถ้าศาลวินิจฉัยว่า
ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เป็นค าสั่งระหว่างพิจารณา (ฎีกาที่ ๒๒๖/๒๕๐๔) หรือจ าเลยขอให้ศาล
ชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลสั่งว่าฟ้องโจทก์ ไม่ขาดอายุความ
เป็นค าสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อไม่ได้โต้แย้งจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ค าสั่งดังกล่าว (ฎีกาที่ ๗๑/๒๕๐๕)
๓.๖ ถ้าศาลยกค าร้องของโจทก์หรือจ าเลยที่ขอให้ชี้ขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔ หรือสั่ง
ไม่รับวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตามที่คู่ความฝ่ายหนึ่งร้องขอ เป็นค าสั่งระหว่างพิจารณา
(ฎีกาที่ ๑๔๘/๒๔๙๑, ๑๐๓๒ - ๑๐๓๓/๒๔๙๔, ๒๒๐๐/๒๕๑๔)
๓.๗ ศาลชั้นต้นสั่งชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔ แล้ว ศาลอุทธรณ์เห็นว่า
ไม่ควรชี้ขาดเบื้องต้น จึงให้ยกค าสั่งศาลชั้นต้นแล้วด าเนินกระบวนพิจารณาต่อไป คู่ความฎีกาได้
ไม่เป็นค าสั่งระหว่างพิจารณา (ฎีกาที่ ๒๖๘/๒๕๙๑ ประชุมใหญ่)
๓.๘ การขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔ คู่ความต้องยื่นเฉพาะ
คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเท่านั้น จะมาขอในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ (ค าสั่งค าร้อง
ศาลฎีกาที่ ๑๓๔๖/๒๕๒๘, ๑๘๘/๒๕๓๒)
๓.๙ คู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔ หากศาลยังไม่ได้
วินิจฉัยให้ตามขอ คู่ความมีสิทธิยื่นค าขอเช่นว่านั้นได้อีก ไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ ้า หากศาล
เห็นสมควรย่อมมีค าสั่งใหม่ให้วินิจฉัยตามขอได้โดยไม่ต้องเพิกถอนค าสั่งเดิม เพราะไม่ใช่
กระบวนพิจารณาผิดระเบียบ (ฎีกาที่ ๓๕๗๔/๒๕๓๖)
๓.๑๐ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔ อันท าให้คดีเสร็จไป
ทั้งเรื่อง การที่โจทก์อุทธรณ์และจ าเลยฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาค าสั่งตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๒๒๗ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ ๒๐๐ บาท ตามตาราง ๑ ข้อ ๒ ข. ท้าย ป.วิ.พ.
มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท (ฎีกาที่ ๑๓๔๑/๒๕๓๗, ๓๓๗๐/๒๕๓๘)
อนึ่ง แม้จะมีค าขอให้ชนะคดีมาด้วยก็ตาม ก็ยังคงเสียค่าขึ้นศาลเพียง ๒๐๐ บาท
เช่น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์
โดยเสียค่าขึ้นศาล ๒๐๐ บาท ต่อมาแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกค าพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง