Page 157 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 157
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๑๒๙
(ฎีกาที่ ๘๐๐/๒๕๕๑, ๕๑๘๖/๒๕๔๘) แม้จะยื่นค าร้องขอให้เพิกถอนภายหลังจากที่ศาลชั้นต้น
มีค าพิพากษาแล้วก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๒๗ วรรคสอง (ฎีกาที่ ๓๒๐/๒๕๓๖) ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๒๗ วรรคสอง ที่ให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวได้ในเวลาใด ๆ
ก่อนมีค าพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์
อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นจะใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์
อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วหาได้ไม่
เพราะเป็นการฝ่าฝืนธรรมชาติที่จะบังคับให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายจากกระบวนพิจารณา
ที่ผิดระเบียบยื่นค าร้อง ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีค าพิพากษา
โดยที่ตนยังไม่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จ าเลยยื่นค าร้องอ้างว่า
ไม่มีการส่งหมายเรียกและส าเนาค าฟ้องแก่จ าเลย จ าเลยไม่ได้มอบอ านาจให้นาง ร. ด าเนินคดี
แทนทั้งนาง ร. ไม่ได้ตั้งให้นาย ม. เป็นทนายความ แต่นาย ม. ได้ด าเนินกระบวนพิจารณา
ในฐานะทนายความตลอดมาเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงผิดด าเนินกระบวนพิจารณาไปจนมี
ค าพิพากษาให้จ าเลยแพ้คดี ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดว่ากระบวนพิจารณาและค าพิพากษาของ
ศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ จ าเลยซึ่งได้รับความเสียหายจึงชอบที่จะยื่นค าร้องต่อศาลชั้นต้น
ให้เพิกถอนการพิจารณาที่ศาลชั้นต้นด าเนินไปโดยผิดระเบียบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗
(๓๒๑/๒๕๓๖)
๒.๘ ทนายจ าเลยได้ย้ายส านักงานไปจากที่เดิมก่อนวันที่พนักงานเดินหมาย น าหมายนัด
ฟังค าพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปปิด การปิดหมายนัดฟังค าพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมเป็น
การไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา ๗๙ ดังนั้น กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น
ในการส่งหมายนัดฟังค าพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายจ าเลย ตลอดจนการจดรายงาน
การอ่านค าพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่ศาลจะเพิกถอน
เสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ วรรคแรก (ฎีกาที่ ๓๓๕๒/๒๕๓๘)
๒.๙ การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเข้าใจโดยผิดหลง ศาลชั้นต้น
ย่อมมีอ านาจที่จะเเก้ไขให้ถูกต้องได้ ส่วนที่ ป.วิ.พ . มาตรา ๒๓๔ บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์
ค าสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์นั้น เป็นเพียงบทบัญญัติที่ก าหนด
วิธีการที่ผู้อุทธรณ์จะปฏิบัติได้อีกทางหนึ่งเท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลชั้นต้น
สั่งแก้ไขค าสั่งที่สั่งไปโดยผิดหลงเช่นนั้นไม่ (ฎีกาที่ ๓๕๘๙/๒๕๒๕, ๓๓๖๙/๒๕๓๘)