Page 162 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 162

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๑๓๔


                                                           บทที่ ๕


                        กรณีไม่สามารถด าเนินกระบวนพิจารณาต่อศาลที่มีเขตอ านาจ




                  ๑.  กรณีคู่ความไม่อาจด าเนินกระบวนพิจารณาต่อศาลที่มีเขตอ านาจได้


                            ในกรณีคู่ความไม่อาจด าเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้

                  โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่ายที่เสียหายหรืออาจเสียหายเพราะการนั้นจะยื่นค าขอฝ่ายเดียวโดยท า

                  เป็นค าร้องต่อศาลชั้นต้น  ซึ่งตนมีภูมิล าเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้  และให้ศาลนั้น

                  มีอ านาจท าค าสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

                            เหตุสุดวิสัย ตามมาตรา ๑๐ นั้น  คือ  พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และไม่สามารถ

                  หลีกเลี่ยงได้อันเป็นเหตุขัดขวางมิให้คู่ความด าเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น

                  รถยนต์ประสบอุบัติเหตุและไม่สามารถเดินทางโดยรถยนต์คันอื่นได้ (ฎีกาที่ ๕๗๒๐/๒๕๔๔)

                  เหตุสุดวิสัย จึงไม่จ าต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ ตาม ป.พ.พ.

                  มาตรา ๘  (ฎีกาที่ ๖๙๕/๒๕๐๙)  ปัจจุบันนี้ความหมายของเหตุสุดวิสัย ตาม ป.พ.พ. ศาลฎีกา

                  วินิจฉัยท านองเดียวกันว่าคือเหตุที่เกิดจากการกระท าของมนุษย์ ซึ่งบุคคลได้จัดการระมัดระวัง

                  ตามสมควรแล้ว ก็ยังไม่อาจป้องกันได้ด้วย (ฎีกาที่ ๑๑๙/๒๕๒๒, ๓๒๖/๒๕๒๒)


                                   (๑)  มาตรา ๑๐ ใช้กับกรณีการเริ่มต้นยื่นค าฟ้องต่อศาลชั้นต้น
                                   (๒) มาตรา ๑๐ ใช้กรณียื่นอุทธรณ์ด้วยเพราะเป็นกระบวนพิจารณาที่ผู้อุทธรณ์


                  จะต้องด าเนินการต่อศาลอย่างหนึ่ง (ฎีกาที่ ๙๖๗/๒๔๙๔) แต่ศาลที่รับค าฟ้องอุทธรณ์และค าร้อง

                  ตามมาตรา ๑๐ ไม่ควรสั่งค าฟ้องอุทธรณ์และค าร้องอื่นที่เกี่ยวข้องในเนื้อหาให้สั่งเพียงว่า

                  “ส่งให้ศาลเดิมเพื่อพิจารณาสั่ง” เพราะไม่มีข้อเท็จจริง หรือรายละเอียดในส านวนที่จะสั่งอุทธรณ์

                  นั้นได้


                  ๒.  การสั่งและวิธีปฏิบัติของศาลที่รับค าร้อง



                        มาตรา ๑๐  ให้ศาลรับค าร้องมีอ านาจท าค าสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร
                  เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม   เพราะคู่ความไม่สามารถด าเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น


                  ที่มีเขตศาลเหนือคดีได้ แต่ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าเป็นเหตุสุดวิสัย  หากตามค าร้องมิได้ระบุว่า
                  กรณีมีเหตุสุดวิสัยอย่างใดก็ไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๐ นี้ คู่ความที่ยื่นค าร้องจึงไม่อาจด าเนินกระบวน


                  พิจารณาต่อศาลนั้นได้ (ฎีกาที่ ๗๔๔๓/๒๕๔๔) การวินิจฉัยว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่  จึงเป็น

                  อ านาจของศาลที่รับค าร้องจะพิจารณาสั่ง  ดังนั้น  เมื่อคู่ความยื่นค าร้องเข้ามาตามมาตรา ๑๐
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167