Page 160 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 160

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๑๓๒


                                      ค าร้องขอของจ าเลยที่ ๒ ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่ขอให้เพิกถอนการพิจารณา

                  ที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น  หากศาลฟังว่า

                  จ าเลยที่ ๒ ไม่มีสิทธิยื่นค าร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกค าร้องของจ าเลยที่ ๒ เสีย

                  กรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขาย

                  หรือจ าหน่ายแต่อย่างใด    ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมดังกล่าว

                  จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากค าร้องของจ าเลยที่ ๒ เป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมาย

                  อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอ านาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม

                  ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖, ๒๔๗ (ฎีกาที่ ๖๕๒/๒๕๔๐)



                  ๖.  การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ


                        ๖.๑  เพิกถอนทั้งหมด


                        ๖.๒  เพิกถอนบางส่วน


                        ๖.๓  สั่งแก้ไขในกรณีที่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงมากนัก เช่น ศาลชั้นต้นมีค าสั่งให้รับฟ้องโจทก์
                  ซึ่งโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในค าฟ้อง (ฎีกาที่ ๖๐๑/๒๕๓๗)


                        ข้อสังเกต

                        ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๐๑/๒๕๓๗  เป็นเรื่องที่ศาลไม่ได้สั่งให้แก้ไขค าฟ้อง เมื่อคดีมาถึง

                  ชั้นอุทธรณ์ได้มีการสั่งให้แก้ไข ซึ่งการที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้แก้ไขนั้นถือเป็นการสั่งตาม

                  ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๘ เมื่อไม่มีการลงลายมือชื่อศาลจะต้องสั่งให้

                  แก้ไข เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้แก้ไขและพิพากษา จึงกลายเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

                  ศาลอุทธรณ์จึงมีอ านาจสั่งให้แก้ไขตามมาตรา ๒๗ ได้


                        ๖.๔  มีค าสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร เช่น กรณีคู่ความไม่ได้รับความเสียหาย

                  หรือล่วงเลยเวลามานานแล้ว หากเพิกถอนจะท าให้เสียความยุติธรรม ก็ไม่จ าเป็นต้องสั่งเพิกถอน

                  (ฎีกาที่ ๑๐๓๕/๒๔๙๖, ๑๑๒๙/๒๔๙๖, ๑๗๙๓/๒๕๑๑, ๒๑/๒๕๒๓)



                  ๗.  ผลของการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ


                        ๗.๑  เมื่อศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบแล้ว กระบวนพิจารณาเดิมเป็นอัน

                  สิ้นผลไป ศาลต้องด าเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง (ฎีกาที่ ๒๙๐๘ - ๒๙๐๙/๒๕๓๗)

                             แต่ถ้าเป็นเรื่องไม่ได้ปฏิบัติตามก าหนดระยะเวลาและพ้นก าหนดระยะเวลาแล้ว

                  เมื่อศาลสั่งเพิกถอนแล้ว ศาลควรสั่งให้ขยายเวลาตามมาตรา ๒๓ (ฎีกาที่ ๑๗๙/๒๕๑๘)
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165