Page 149 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 149
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๑๒๑
บทที่ ๓
กระบวนพิจารณาชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้น
ในกรณีมีคู่ความยื่นค าร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตามมาตรา ๒๔ การที่ศาล
จะสั่งให้ชี้ขาดข้อกฎหมายดังกล่าวหรือไม่นั้น ศาลควรจะพิจารณาข้อกฎหมายดังกล่าวให้
ละเอียดรอบคอบ ทั้งข้อเท็จจริงในค าฟ้องค าให้การต้องมีเพียงพอ แน่ชัดเสียก่อน หากเห็นว่า
วินิจฉัยไปแล้ว จะท าให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง เช่น คดีโจทก์ขาดอายุความแน่นอน ซึ่งศาลต้อง
พิพากษายกฟ้อง เช่นนี้ ศาลควรสั่งวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายดังกล่าว เพราะคดีเสร็จไปรวดเร็ว
แต่หากยังไม่แน่ใจก็ไม่ควรจะด่วนวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย เพราะหากศาลสูงไม่เห็นด้วยกับ
ข้อชี้ขาดนั้น คดีจะต้องย้อนกลับมาพิจารณากันใหม่ท าให้คดีล่าช้าเสียเวลาโดยใช่เหตุ หรือถ้า
ศาลพิจารณาแล้วไม่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ขอให้วินิจฉัย เช่น ฟังได้ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
อย่างแน่นอน ศาลก็ไม่ควรสั่งวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย ศาลควรรอไว้สั่งพร้อมค าพิพากษา
ซึ่งจะท าให้คดีเสร็จรวดเร็วขึ้น
๑. การวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเกิดขึ้นได้ ๒ กรณีคือ
๑.๑ คู่ความร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย
๑.๑.๑ กรณียื่นก่อนวันนัดหลายวัน สั่งว่า “ส าเนาให้โจทก์ หากจะคัดค้านประการใด
ให้ยื่นค าแถลงภายใน…….วัน” (แล้วแต่ดุลพินิจ)
๑.๑.๒ กรณียื่นใกล้ถึงวันวันนัด สั่งว่า “ส าเนาให้โจทก์ รอไว้สั่งในวันนัด” เมื่อถึง
วันนัด ให้สอบโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่แล้วพิจารณาสั่งตามรูปคดี
๑.๒ ศาลเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเอง
จดในรายงานกระบวนพิจารณาว่า
“พิเคราะห์ค าฟ้องค าให้การแล้ว เห็นว่าข้อกฎหมายที่ว่า . . . (คดีโจทก์ขาดอายุความ
หรือไม่) เป็นข้อกฎหมายที่สมควรได้รับการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔
จึงให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจ าเลย ให้นัดฟังค าพิพากษาในวันที่ . . .”
๒. การสั่งค าร้องขอวินิจฉัยข้อกฎหมายตามมาตรา ๒๔
๒.๑ กรณีศาลไม่อนุญาตให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมาย