Page 146 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 146
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๑๑๘
บทที่ ๒
การแยกคดี
๑. การแยกคดีหลายข้อหา
๑.๑ การฟ้องคดีหลายข้อหาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเลย
ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาชั้นรับฟ้อง หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อหาไม่เกี่ยวข้องกัน
ศาลควรสั่งแยกคดีเสียตั้งแต่ชั้นรับฟ้อง ตามมาตรา ๒๙ วรรคสอง
ตัวอย่าง
โจทก์ฟ้องให้จ าเลยที่ ๑ รับผิดตามสัญญาเล่นแชร์ ๒ วง แต่ละวงมีรายละเอียด
แตกต่างกัน หากจ าเลยที่ ๑ ผิดสัญญาวงใดวงหนึ่งก็ไม่เป็นเหตุให้ต้องผิดสัญญาอีกวงหนึ่ง
การที่โจทก์ฟ้องจ าเลยที่ ๑ ผิดสัญญาเล่นแชร์วงแรก จึงไม่เกี่ยวข้องกับข้อหาผิดสัญญาเล่นแชร์
วงที่สอง ในกรณีเช่นนี้ ศาลมีค าสั่งแยกคดีได้ แต่หากศาลไม่ได้สั่งให้แยกการพิจารณาทุนทรัพย์
ในการอุทธรณ์ ศาลต้องแยกค านวณตามทุนทรัพย์ของการผิดสัญญาแต่ละวง (ฎีกาที่ ๕๔๙๕/
๒๕๓๘)
๑.๒ การฟ้องคดีหลายข้อหา ซึ่งแต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันโจทก์หรือจ าเลยอาจยื่นค าขอให้
แยกข้อหาหรือศาลเห็นสมควรสั่งให้แยก ศาลมีอ านาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นออกจากกันได้
ถ้าศาลเห็นว่าการแยกข้อหาเหล่านั้นออกจากกันจะท าให้การพิจารณาสะดวก แต่ต้องฟังคู่ความ
ทุกฝ่ายก่อน อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สมควรสั่งให้โจทก์แยกฟ้องเป็นรายข้อหาในกรณีที่แต่ละ
ข้อหาเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้และการแยกฟ้องมีผลท าให้โจทก์ต้องเสีย
ค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นโดยโจทก์ไม่ควรจะต้องเสีย (ฎีกาที่ ๖๙๙/๒๕๔๙)
๑.๓ การสั่งแยกคดีจะกระท าได้ต่อเมื่อแต่ละข้อหานั้นไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ถ้าเป็นสิทธิของ
คู่ความที่จะฟ้องคดีรวมกันมาจะสั่งแยกไม่ได้
ตัวอย่าง
โจทก์ฟ้องจ าเลย ๑๖ คนว่าคัดค้านการที่โจทก์ขอออก น.ส. ๓ จ าเลยให้การว่า
ได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด ดังนี้ เป็นคดีมีข้อหาเดียวจะสั่งแยกคดีให้ฟ้องจ าเลยแต่ละคน
ไม่ได้ (ฎีกาที่ ๒๓๓๗/๒๕๒๑)