Page 230 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 230
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๒๐๒
ของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ โดยให้ถ่ายส าเนาเอกสารดังกล่าวแยกเก็บไว้ก่อนส่งไปตรวจ
พิสูจน์
ส าหรับการสืบพยานคดีนี้ ให้นัดสืบพยานโจทก์...นัด และนัดสืบพยานจ าเลย...นัด
.........................”
ตัวอย่างที่ ๒
“นัดชี้สองสถาน โจทก์ ทนายโจทก์ จ าเลย และทนายจ าเลยมาศาล
..........................................................................................................................................
ทนายจ าเลยแถลงว่า เนื่องจากศาลก าหนดประเด็นข้อพิพาทว่า พินัยกรรมพิพาท
เป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ จึงขอให้ศาลส่งพินัยกรรมเอกสารหมาย ล. ๑ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจพิสูจน์ว่า ลายมือชื่อผู้ท าพินัยกรรมในเอกสารดังกล่าวเป็นลายมือชื่อของนาย....ผู้ตาย
หรือไม่ โดยจ าเลยยินยอมเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์
สอบทนายโจทก์แล้วแถลงไม่ค้าน
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็น
พยานหลักฐานยันแก่ตนปฏิเสธความแท้จริงของเอกสาร และกรณีมีเหตุสมควร จึงอนุญาตให้ส่ง
พินัยกรรม เอกสารหมาย ล. ๑ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ตามขอ โดยให้โจทก์และจ าเลย
จัดหาตัวอย่างลายมือชื่อของผู้ตายที่ลงไว้ในเอกสารต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ท า
พินัยกรรมพิพาทมาส่งศาลภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันนี้ เพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบกับ
พินัยกรรมพิพาท
ให้นัดพร้อมเพื่อตรวจสอบเอกสารส่งตรวจพิสูจน์และก าหนดวันสืบพยานในวันที่....”
เมื่อถึงวันนัด จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า
“นัดพร้อมเพื่อตรวจสอบเอกสารส่งตรวจพิสูจน์และก าหนดวันสืบพยาน ทนายโจทก์
และทนายจ าเลยมาศาล
ทนายโจทก์แถลงขอส่งค าขอเปิ ดบัญชีเงินฝาก สัญญากู้ สัญญาจ านอง และสัญญา
ซื้อขายที่ดิน รวม ๔ ฉบับ ศาลหมาย จ. ๑๐ ถึง จ.๑๓ ทนายจ าเลยแถลงขอส่งใบถอนเงินฝาก
เช็ค และจดหมาย รวม ๘ ฉบับ ศาลหมาย ล. ๔ ถึง ล. ๑๑ โดยคู่ความตรวจดูเอกสารที่แต่ละฝ่าย
ส่งศาลแล้ว แถลงรับว่า ลายมือชื่อผู้ท าเอกสารดังกล่าวทุกฉบับเป็นลายมือชื่อของผู้ตาย
ให้มีหนังสือส่งเอกสารหมาย จ. ๑๐ ถึง จ. ๑๓ , ล. ๑ และ ล. ๔ ถึง ล. ๑๑ ไปยังสถาบันนิติ
วิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อผู้ท าพินัยกรรมใน
เอกสารหมาย ล. ๑ และลายมือชื่อตัวอย่างของผู้ตายในเอกสารหมาย จ. ๑๐ ถึง จ. ๑๓ และ ล. ๔