Page 371 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 371
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๔๓
๒๔๙๒ ดังนี้ แม้เกินก าหนด ๘ วัน แต่จ าเลยเข้าใจโดยสุจริตว่ายื่นค าให้การได้ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม
๒๔๙๒ ตามก าหนดในประกาศ จ าเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นค าให้การ (ฎีกาที่ ๑๗๙๘/๒๔๙๔)
การส่งหมายเรียกและส าเนาค าฟ้องโดยปิดไว้ที่ส านักงานจ าเลย แม้เป็น
การส่งโดยชอบ แต่จ าเลยไม่ทราบเพราะไปตรวจกิจการทางภาคใต้ของนายจ้างเพิ่งกลับมาทราบ
เมื่อพ้นก าหนดยื่นค าให้การแล้ว ดังนี้ ที่จ าเลยมิได้ยื่นค าให้การภายในก าหนดจึงเป็นการขาดนัด
โดยไม่จงใจ (ฎีกาที่ ๒๔๒๒/๒๕๒๕)
จ าเลยตายก่อนครบก าหนดยื่นค าให้การ กรณีย่อมมีเหตุที่จะต้องเลื่อนก าหนด
ยื่นค าให้การไป เพื่อให้ผู้ที่เข้าเป็นคู่ความแทนได้ยื่นค าให้การภายในเวลาอันสมควร การเพิกถอน
ค าสั่งขาดนัดยื่นค าให้การของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว (ฎีกาที่ ๒๘๙๐/๒๕๒๙)
๔. พยานหลักฐานในชั้นไต่สวนค าร้องขออนุญาตยื่นค าให้การ ไม่ใช่พยานหลักฐาน
สนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๘๘ ดังนั้น จึงไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
(เทียบฎีกาที่ ๑๙๒/๒๕๑๗)
๕. กรณีที่ศาลชั้นต้นมีค าสั่งว่า การขาดนัดยื่นค าให้การของจ าเลยเป็นไปโดยจงใจ
และให้ยกค าร้องขออนุญาตยื่นค าให้การ และต่อมาได้มีค าพิพากษา จ าเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้มีค าสั่งให้
ศาลชั้นต้นรับค าให้การและให้ด าเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่วันที่จ าเลยขาดนัดยื่นค าให้การ
ต่อมาศาลอุทธรณ์มีค าพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จ าเลยยื่นค าให้การ ค าพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่เป็นที่สุดตามมาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสี่ เพราะกรณีดังกล่าวไม่ได้ใช้สิทธิ
ขอให้พิจารณาคดีใหม่ ดังนั้น จึงยื่นฎีกาได้ (เทียบค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๒๑๑๕/๒๕๔๖ประชุม
ใหญ่)
๖. ถ้าจ าเลยที่ขาดนัดยื่นค าให้การมาศาล แต่ไม่ได้แจ้งต่อศาลก็ดี หรือศาลเห็นว่า
การขาดนัดยื่นค าให้การนั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี มาตรา ๑๙๙ วรรคสอง
ก าหนดให้ศาลด าเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยจ าเลยจะน าสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้
แต่ถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบพยานได้
ก. การที่พยานโจทก์ไม่ตอบค าถามค้าน หรือไม่ได้เบิกความรับรองเอกสาร
ประกอบการถามค้านของฝ่ ายจ าเลย ถ้าจ าเลยขอส่งเอกสารนั้นเป็ นพยาน ถือว่าจ าเลย
น าพยานหลักฐานของตนเข้าสืบอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๙๙ วรรคสอง พยานเอกสารที่จ าเลยอ้างส่ง
นั้น จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง (เทียบฎีกาที่ ๒๔๔๓/๒๕๓๘ , ๖๕๕๗/๒๕๓๙) แต่หากพยานโจทก์ตอบ
ค าถามค้านหรือเบิกความรับรองเอกสารของจ าเลย การที่จ าเลยขออ้างส่งเอกสารนั้นเป็นพยาน ถือว่า
เป็นเอกสารประกอบการถามค้าน ศาลย่อมรับฟังได้ (เทียบฎีกาที่ ๙๖๗๖/๒๕๓๙)