Page 368 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 368

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๔๐


                                      ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๑๒๒/๒๕๔๘ โจทก์ฟ้องขอให้จ าเลยทั้งสอง

                  ร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการช าระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จ าเลยที่ ๑

                  จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เพราะขาดนัดยื่นค าให้การ แต่จ าเลยที่ ๒ ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้

                  การด าเนินกระบวนพิจารณาซึ่งท าโดยจ าเลยที่ ๒ จึงถือว่าได้ท าโดยจ าเลยที่ ๑ ด้วย ตาม ป.วิ.พ.

                  มาตรา ๕๙ (๑) เมื่อศาลพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจ าเลยที่ ๒ ซึ่งยื่นค าให้การเสร็จแล้ว

                  และได้ความว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ ศาลย่อมมีอ านาจพิพากษาให้มีผลถึงจ าเลยที่ ๑ ได้

                  และค าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๐๗๒/๒๕๔๕ ตัดสินว่า แม้จ าเลยที่ ๔ ซึ่งเป็นผู้ค ้าประกันไม่ได้ยก

                  อายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในค าให้การ แต่เมื่อจ าเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกหนี้และจ าเลยที่ ๓ ซึ่งเป็น

                  ผู้ค ้าประกันให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว และคดีนี้มีมูลความแห่งคดีเป็นการช าระหนี้

                  ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของจ าเลยที่ ๑ และที่ ๓ จึงถือได้ว่าเป็นการ

                  ท าแทนจ าเลยที่ ๔ ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕๙ (๑) ดังนั้น จ าเลยที่ ๔ จึงมีสิทธิฎีกาในประเด็น


                  เรื่องอายุความ และศาลฎีกามีอ านาจวินิจฉัย
                                                  (๒) หากจ าเลยที่ยื่นค าให้การไม่มาศาลในวันสืบพยาน ถือว่าขาดนัดพิจารณา


                  แต่จ าเลยที่ขาดนัดยื่นค าให้การนั้น  แม้ไม่มาศาลในวันสืบพยานของคู่ความอื่นก็ไม่ถือว่าจ าเลย

                  นั้นขาดนัดพิจารณาอีก  (มาตรา  ๑๙๘ ตรี  วรรคสอง)



                  ๔.  จ าเลยที่ขาดนัดยื่นค าให้การขออนุญาตยื่นค าให้การ (มาตรา ๑๙๙)

                            ๔.๑   จ าเลยที่ขาดนัดยื่นค าให้การ มีสิทธิที่จะขออนุญาตยื่นค าให้การได้ตามมาตรา  ๑๙๙

                  วรรคหนึ่ง โดยจ าเลยต้องมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีและแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตน

                  ประสงค์จะต่อสู้คดี  เช่น  กรณีจ าเลยมาศาลในวันนัดฟังค าพิพากษาแต่ก่อนศาลอ่านค าพิพากษา

                  ถือว่าจ าเลยมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี (เทียบฎีกาที่ ๓๙๓๓/๒๕๒๙) หากมาศาลแล้ว


                  ปล่อยให้ศาลสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จจึงมาแจ้ง ถือว่าพ้นเวลาแล้ว (เทียบฎีกาที่  ๑๘๖๕/
                  ๒๕๑๗,๑๔๓๕/๒๕๒๑)


                            ๔.๒   การแจ้งต่อศาลกฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ท าเป็นค าร้องอาจท าด้วยวาจาได้  (เทียบ

                  ฎีกาที่  ๓๗๘/๒๕๐๓)  แต่ทางปฏิบัติจ าเลยมักจะท าเป็นค าร้องยื่นพร้อมกับค าให้การ


                            ๔.๓    เหตุที่อ้างมี  ๒  ประการ คือ การขาดนัดมิได้เป็นไปโดยจงใจอย่างหนึ่งหรือมีเหตุ

                  อันสมควร อีกอย่างหนึ่ง  หากเข้าเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งศาลก็สั่งอนุญาตได้  (ฎีกาที่  ๔๖๘/

                  ๒๕๓๙)
   363   364   365   366   367   368   369   370   371   372   373