Page 365 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 365

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๓๗


                  และแจ้งวันนัดให้จ าเลยทราบล่วงหน้าแล้วก็ไม่ต้องแจ้งวันนัดให้จ าเลยทราบอีก  ซึ่งจะต้องมี

                  ค าสั่งในค าฟ้องว่า “ให้นัดชี้สองสถานและก าหนดแนวทางการด าเนินคดีหรือสืบพยานโจทก์

                  วันที่ . . .  เวลา . . . น.  หากจ าเลยขาดนัดยื่นค าให้การ  ให้งดชี้สองสถานและให้ถือวันนัดดังกล่าว

                  เป็ นวันนัดสืบพยานโจทก์แทน” (เทียบฎีกาที่ ๖๗๒๑/๒๕๔๔) และแจ้งให้จ าเลย

                  ทราบนัดตั้งแต่ชั้นส่งหมายเรียกส าเนาฟ้อง

                                          ๒. ในวันสืบพยานโจทก์นัดแรก  หากเจ้าหน้าที่รายงานศาลว่า โจทก์ไม่มาศาล สั่งว่า “โจทก์

                  ไม่น าพยานหลักฐานมาสืบตามที่ศาลก าหนด  ให้ถือว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้อง

                   ค่าฤชาธรรมเนียม เป็นพับ”

                                                คดีที่ศาลยกฟ้องโจทก์เช่นนี้ โจทก์จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ไม่ได้และ

                  จะน าคดีมาฟ้องใหม่ไม่ได้  ถือว่าเป็นฟ้องซ ้า  ฟ้องซ้อน หรือด าเนินกระบวนพิจารณาซ ้าแล้วแต่กรณี

                  เพราะศาลได้วินิจฉัยในประเด็นอันเป็นเนื้อหาแห่งคดีแล้ว

                                          ๓. ส าหรับจ าเลยแม้ไม่มาศาลในวันสืบพยานนัดแรก  ก็ไม่ถือว่าจ าเลยขาดนัด

                  พิจารณาตามมาตรา  ๑๙๘  ทวิ วรรคสี่


                                          ๔. การสืบพยานหรือการให้โจทก์ส่งพยานเอกสารต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายว่า
                  ด้วยพยานหลักฐาน  เช่น  ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน  ต้องส่งส าเนาเอกสารให้จ าเลย  ต้องรับฟังแต่


                  ต้นฉบับเอกสาร จ าเลยมีสิทธิคัดค้านว่าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเป็นเอกสารปลอมได้และต้องเสีย

                  ค่าอ้างเอกสาร

                                          ๕.  คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล  ได้แก่ คดีที่มีประเด็นแห่งคดีที่ต้องวินิจฉัย

                  ถึงสิทธิแห่งสภาพบุคคลตาม  ป.พ.พ. บรรพ  ๑  ลักษณะ  ๒  เช่น คดีพิพาทว่าโจทก์เป็นผู้มี

                  สัญชาติไทย  หรือคนต่างด้าว (ฎีกาที่ ๑๔๖๓/๒๔๙๖) คดีที่ขอให้ศาลมีค าสั่งให้บุคคลวิกลจริต

                  เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาล (ฎีกาที่ ๑๑๘๒/๒๕๑๑)

                                                 คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว  ได้แก่คดีที่มีประเด็นแห่งคดีที่ต้องวินิจฉัยถึง

                  สิทธิในครอบครัวตาม  ป.พ.พ.  บรรพ  ๕  เรื่องการสมรส  บิดามารดากับบุตร บุตรบุญธรรม

                  รวมถึงการใช้สิทธิ เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู  ค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพ  (ฎีกาที่  ๒๙๙๕/๒๕๔๐)

                  คดีฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้หรือหญิงอื่นที่แสดงตนว่ามีความสัมพันธ์กับสามีในท านองชู้สาว

                  ตาม ป.พ.พ.  มาตรา ๑๕๒๓ (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๒๔๔/๒๕๔๕)   แต่ไม่รวมถึงเรื่องการ

                  ผิดสัญญาหมั้น ซึ่งถือว่าไม่เกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว (ฎีกาที่  ๙๓๔๒/๒๕๓๘  และค าสั่ง

                  ค าร้องศาลฎีกาที่ ๑๓๓๐/๒๕๓๕)

                                          ๖. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์  ได้แก่คดีที่มีประเด็นแห่งคดี

                  ที่ต้องวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตาม  ป.พ.พ. บรรพ ๔ ลักษณะ  ๒  กรรมสิทธิ์
   360   361   362   363   364   365   366   367   368   369   370