Page 363 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 363
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๓๕
๔.๒ การสั่งจ าหน่ายคดีจากสารบบความตามข้อ ๔.๑ นั้นเป็นดุลพินิจของศาล
มิใช่บทบังคับโดยเคร่งครัด ดังนั้นหากโจทก์ยื่นค าขอดังกล่าว ภายหลัง ๑๕ วันแล้ว แต่ขณะนั้น
ศาลยังมิได้มีค าสั่งจ าหน่ายคดีโจทก์ ดังนี้ ศาลก็มีอ านาจสั่งตามค าร้องของโจทก์ได้ (เทียบฎีกาที่
๔๙๘ - ๔๙๙/๒๕๐๙) หรือจะสั่งจ าหน่ายคดีก็ได้ แต่ถ้าศาลสั่งจ าหน่ายคดีจากสารบบความไปแล้ว
โจทก์เพิ่งมายื่นค าขอดังกล่าว ดังนี้ ศาลชอบที่จะยกค าขอนั้นเสีย (เทียบฎีกาที่ ๑๖๗๐/๒๕๓๐)
๕. ทุกครั้งที่จ าเลยขาดนัดยื่นค าให้การ เช่น จ าเลยขออนุญาตยื่นค าให้การใหม่
และศาลอนุญาต แต่จ าเลยไม่ยื่นภายในก าหนด ดังนี้ โจทก์ต้องยื่นค าขอให้ศาลสั่งว่าจ าเลยขาดนัด
ยื่นค าให้การอีกตามข้อ ๔ เสมอ แม้ศาลจะสั่งนัดสืบพยานโจทก์ไว้ล่วงหน้าก็ตาม ศาลก็สั่งจ าหน่ายคดี
เพราะเหตุที่โจทก์ไม่ยื่นค าขอดังกล่าวได้ (เทียบฎีกาที่ ๒๔๓๘/๒๕๒๘, ๑๘๒๐/๒๕๓๐)
๖. ผลของค าสั่งจ าหน่ายคดีโจทก์จากสารบบความคือโจทก์อุทธรณ์ฎีกาได้ทันที
เพราะไม่ใช่ค าสั่งระหว่างพิจารณา (ฎีกาที่ ๑๓๖๕/๒๕๓๐)
๗. คดีร้องขัดทรัพย์ โจทก์จะต้องยื่นค าให้การแก้ค าร้องขัดทรัพย์เหมือนคดีธรรมดา
ในทางปฏิบัติศาลจะออกหมายเรียกโดยก าหนดเวลาให้โจทก์ยื่น ค าให้การภายใน ๑๕ วัน ถ้าโจทก์
ไม่ยื่นค าให้การ ถือว่าโจทก์ขาดนัดยื่นค าให้การแก้ค าร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องขัดทรัพย์ก็ต้องยื่นค าขอ
ต่อศาลภายใน ๑๕ วัน เพื่อให้ศาลมีค าพิพากษาหรือค าสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด
ตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน (เทียบฎีกาที่ ๓๑๐/๒๕๒๓)
การสั่งค าขอของผู้ร้องขัดทรัพย์ในกรณีนี้ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับคดีธรรมดา
ในข้อ ๑.๒ ส่วนการที่ศาลจะมีค าสั่งชี้ขาดคดีร้องขัดทรัพย์และจะต้องมีการสืบพยานหรือไม่
ให้ปฏิบัติตามข้อ ๒.๑ และ ๒.๒ โดยอนุโลม
๘. กรณีที่จ าเลยฟ้องแย้งมาในค าให้การ ถ้าโจทก์ไม่ยื่นค าให้การแก้ฟ้องแย้ง
ก็ถือว่าโจทก์ขาดนัดยื่นค าให้การแก้ฟ้องแย้ง มาตรา ๑๙๙ ฉ ให้น าบทบัญญัติเรื่องการขาดนัด
ยื่นค าให้การมาใช้บังคับโดยอนุโลม
๒. การพิพากษาหรือมีค าสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดยื่นค าให้การ (มาตรา ๑๙๘ ทวิ)
เมื่อจ าเลยขาดนัดยื่นค าให้การและโจทก์ได้ยื่นค าขอต่อศาลให้มีค าพิพากษาหรือค าสั่งชี้ขาด
ให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตามมาตรา ๑๙๘ วรรคหนึ่งแล้ว ศาลจะต้องมีค าพิพากษาหรือค าสั่ง
ชี้ขาดคดีโดยขาดนัดตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ โดยไม่ชักช้า ซึ่งตามปกติจะไม่ต้องมีการสืบพยานบุคคล
เว้นแต่เป็นคดีที่กฎหมายบังคับให้ต้องสืบพยาน หรือให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยาน
หรือศาลเห็นสมควรให้สืบพยานก่อนพิพากษาคดี