Page 377 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 377
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๔๙
(๑) มีเหตุควรเชื่อว่า การขาดนัดยื่นค าให้การนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุ
อันสมควร
(๒) ศาลเห็นว่า เหตุผลที่อ้างมาในค าขอนั้นผู้ขอมีทางชนะคดีได้ และ
(๓) ในกรณีที่ยื่นค าขอล่าช้า ผู้ขอได้ปฏิบัติตามและยื่นภายในก าหนดเวลาตามที่
ก าหนดไว้ในมาตรา ๑๙๙ จัตวา
เมื่อศาลมีค าสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว ให้ศาลแจ้งค าสั่งให้ศาลอุทธรณ์
หรือศาลฎีกาทราบด้วยหากมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสอง
๖.๓ ผลของการอนุญาตให้พิจารณาใหม่ ท าให้ค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลโดยคู่ความ
ขาดนัด รวมทั้งค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลสูงและการบังคับคดีที่ได้ด าเนินการไปแล้ว
ถือว่าเป็นการเพิกถอนไปในตัวไม่ต้องสั่งเพิกถอนอีก
ศาลมีอ านาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดตามค าพิพากษา
ที่ขาดนัดยื่นค าให้การเพิกถอนรายการจดทะเบียนนั้นได้ (ฎีกาที่ ๓๓๖๘/๒๕๓๗)
๖.๔ ศาลพิจารณาคดีนั้นใหม่ตั้งแต่เวลาที่จ าเลยขาดนัดยื่นค าให้การโดยศาลจะก าหนดเวลา
ให้จ าเลยยื่นค าให้การภายในก าหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร (มาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสาม
ตอนท้าย)
๖.๕ ค าสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่นี้เป็นที่สุด
แต่ค าสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่นั้นจ าเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้
ค าพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เป็นที่สุด (มาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสี่)
ข้อสังเกต
มาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสี่ บัญญัติให้ค าพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
หมายถึง ค าพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีในชั้นขอให้พิจารณาใหม่เท่านั้น
หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของจ าเลยโดยเหตุอื่น เช่น คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท
ต้องห้ามอุทธรณ์ กรณีนี้ไม่เป็นที่สุด จ าเลยยื่นฎีกาได้ (เทียบค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๓๗๗๙/๒๕๔๖
ประชุมใหญ่)
๗. โจทก์ไม่ได้ให้การแก้ฟ้องแย้ง (มาตรา ๑๙๙ ฉ)
การที่จ าเลยใช้สิทธิยื่นค าให้การและฟ้องแย้ง โจทก์อยู่ในฐานะเป็นจ าเลยในส่วนของฟ้องแย้ง
และมีหน้าที่ต้องยื่นค าให้การแก้ฟ้องแย้งภายในก าหนดเวลา ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับค าให้การ
และฟ้องแย้ง (ดูหมวดที่ ๑ ส่วนที่ ๒ บทที่ ๓ และ ๔)