Page 379 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 379
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๕๑
บุคคลดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความ ดังนั้น หากถึงวันนัดสืบพยานแล้วคู่ความไม่มาศาล
แม้เสมียนทนายหรือผู้รับมอบฉันทะให้มาศาลในเรื่องอื่นมาศาล ก็ต้องถือว่าคู่ความฝ่ายนั้น
ขาดนัดพิจารณา (เทียบฎีกาที่ ๓๔๗๔/๒๕๓๘, ๖๔๐/๒๕๔๙)
แม้ตัวความไม่มาแต่ทนายความมาก็จะถือว่าขาดนัดพิจารณาไม่ได้
ทนายจ าเลยมายื่นค าร้องขอถอนตัว ศาลมีค าสั่งอนุญาต แม้ว่าจ าเลยจะ
ไม่มาศาลในวันดังกล่าวก็จะถือว่าจ าเลยขาดนัดพิจารณาไม่ได้ (เทียบฎีกาที่ ๗/๒๕๒๘)
๘.๑.๔ ค าว่า “คู่ความฝ่ายใดไม่มาศาล” หมายความว่าไม่เข้ามาในห้องพิจารณาของศาล
ตามวันเวลาที่ศาลได้แจ้งวันนัดให้ทราบโดยชอบแล้ว กรณีคู่ความมาศาลแต่ไม่ยอมเข้าห้องพิจารณา
ก็ถือว่าไม่มาศาลตามความหมายนี้จึงถือว่าขาดนัดพิจารณา (ฎีกาที่๕๒๒/๒๕๒๔ , ๕๗๒๔/๒๕๓๓)
แต่ถ้าเข้ามาในห้องพิจารณาแล้วกลับไปก่อนไม่ยอมอยู่ฟังการพิจารณาจนจบสิ้นถือว่ามาศาลแล้ว
ไม่เป็นการขาดนัดพิจารณา (ฎีกาที่ ๑๑๕๘/๒๕๒๑)
การที่เข้าห้องพิจารณาผิด (ฎีกาที่ ๙๑๐๖/๒๕๓๘) หรือติดการพิจารณาที่ห้อง
พิจารณาอีกคดีหนึ่ง ซึ่งนัดพิจารณาในเวลาเดียวกัน (ฎีกาที่ ๗๔๒๓/๒๕๔๗) ถือว่ามาศาลแล้ว
๘.๑.๕ กรณีคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันสืบพยาน แต่ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือ
สืบพยาน (เช่น ยื่นค าร้องไว้ก่อนวันสืบพยาน) ดังนี้ หากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ถือว่าคู่ความ
ฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา (ฎีกาที่ ๑๘๔๐/๒๕๓๘)
การขอเลื่อนคดีต่อศาลอื่นตามมาตรา ๑๐ เพราะมีเหตุสุดวิสัย หากศาลนั้น
อนุญาตให้เลื่อนคดีก็ไม่ถือว่าขาดนัดพิจารณา (เทียบฎีกาที่ ๑๖๔๔/๒๕๑๙, ๔๒๙๗/๒๕๓๔)
๘.๑.๖ กรณีไม่ไปศาลที่รับประเด็นแม้จะเป็นวันสืบพยานนัดแรกของคดี ก็ไม่ถือว่า
คู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา เพราะเป็นข้อยกเว้นตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสาม (ฎีกาที่ ๘๖๓/๒๕๐๔)
๘.๒ คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา (มาตรา ๒๐๑)
ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า
“นัดสืบพยานโจทก์ (หรือจ าเลย) วันนี้ คู่ความทั้งสองฝ่ ายทราบนัดโดยชอบแล้ว
ไม่มาศาลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา
จึงให้จ าหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๐๑ คืนค่าขึ้นศาล
จ านวน . . . บาท ” ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๕๑ วรรคสาม
ถ้าคดีนั้นมีโจทก์หลายคนหรือจ าเลยหลายคน ต้องแยกพิจารณาเป็นคู่ ๆ
โจทก์กับจ าเลยคู่ใดไม่มาศาลทั้งสองฝ่าย ถือว่าเป็นกรณีคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา
ส่วนคู่ระหว่างโจทก์ที่ไม่มาศาลกับจ าเลยที่มาศาล ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา ๒๐๒