Page 378 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 378

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๕๐


                            หากโจทก์ไม่ได้ยื่นค าให้การแก้ฟ้องแย้งภายในเวลาที่ก าหนด ก็จะต้องน าบทบัญญัติ

                  มาตรา ๑๙๗ ถึง  ๑๙๙ จัตวา มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องนั้นโดยอนุโลม


                  ๘. การขาดนัดพิจารณา


                            ๘.๑ การขาดนัดพิจารณา  คือการที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน

                  โดยคู่ความฝ่ายนั้นมิได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดีตามมาตรา ๒๐๐ (ฎีกาที่ ๑๑๖๕/๒๕๑๕

                  ประชุมใหญ่,  ๘๙๕/๒๕๒๖, ๒๖๕๔/๒๕๒๖)

                                               หากเป็นกรณีตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘  ตรี จะไม่น ามาตรา ๒๐๐  มาใช้บังคับ

                  กล่าวคือ จ าเลยซึ่งขาดนัดยื่นค าให้การ และไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน ไม่ถือว่าจ าเลยดังกล่าว

                  ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสี่ และมาตรา ๑๙๘ ตรี วรรคสอง

                                      ๘.๑.๑  วันสืบพยาน  หมายความว่า  วันที่ศาลเริ่มต้นท าการสืบพยานตามมาตรา ๑(๑๐)

                  วันสืบพยานจึงหมายถึงวันที่ศาลเริ่มต้นท าการสืบพยานเป็นครั้งแรกในคดีหนึ่งๆ  ซึ่งจะมีเพียง

                  วันเดียวเท่านั้น  (ฎีกาที่  ๕๘๓/๒๕๓๐)

                                      ๘.๑.๒ วันอื่น ๆ ไม่ใช่วันสืบพยานตามความหมายในมาตรา  ๑(๑๐)  เช่น


                                                  วันนัดชี้สองสถานก็ดี  วันนัดพร้อมก็ดี  ไม่ใช่วันสืบพยานตามความหมายใน
                  มาตรา  ๑(๑๐)  (ฎีกาที่  ๑๓๑๘/๒๔๙๕)


                                                  วันนัดพิจารณา หรือวันนัดฟังประเด็นกลับก็ไม่ใช่วันสืบพยานตามความหมาย

                  ดังกล่าว  (ฎีกาที่  ๓๓๔๑/๒๕๒๙, ๘๙๐/๒๕๑๖)

                                                  วันนัดสืบพยานนัดแรกต้องเลื่อนออกไปไม่ว่าด้วยเหตุใด  ไม่ถือว่าวันนั้นเป็น

                  “วันสืบพยาน”  (ฎีกาที่  ๒๗๗/๒๔๘๙)

                                                  หากเป็นวันนัดไต่สวนอื่น ๆ เช่น วันนัดไต่สวนค าร้องขอรับช าระหนี้จ านอง

                  วันดังกล่าวไม่ใช่วันสืบพยานตาม มาตรา ๑ (๑) ดังนั้น จึงน าบทบัญญัติเรื่องการขาดนัดพิจารณา

                  มาตรา ๒๐๐ มาใช้บังคับไม่ได้ (เทียบฎีกาที่ ๕๘๓/๒๕๕๑)

                                                  วันนัดสืบพยานนัดต่อมาในคดีที่มีการขาดนัดพิจารณา  หากคู่ความฝ่ายใด

                  ไม่มาศาล เป็นการไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่มิใช่วันสืบพยาน  ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นสละสิทธิการด าเนิน

                  กระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น   และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ด าเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว

                  ตามมาตรา ๒๐๐  วรรคสอง

                                      ๘.๑.๓ ค าว่า “คู่ความ”  ตามมาตรา  ๑ (๑๑) หมายถึง ตัวความ  ทนายความและผู้รับมอบ

                  อ านาจ  หรือรับมอบฉันทะจากตัวความหรือทนายความด้วย  (ฎีกาที่  ๒๘๔/๒๕๒๓, ๑๐๐/๒๕๓๐,

                  ๑๓๕๖/๒๕๓๐) แต่เสมียนทนายหรือผู้รับมอบฉันทะให้มาศาลในเรื่องอื่น  ไม่ใช่เรื่องการสืบพยาน
   373   374   375   376   377   378   379   380   381   382   383