Page 44 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 44

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๑๖


                  ของผู้เยาว์หรืออัยการร้องขอให้ถอนอ านาจปกครองตาม ป.พ.พ.  มาตรา ๑๕๘๒ เมื่อด าเนินการ

                  ดังกล่าวแล้ว  ศาลจึงจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีได้จะใช้บทบัญญัติมาตรา ๕๖ ตั้งผู้แทนเฉพาะคดี

                  ไปก่อนไม่ได้  (ฎีกาที่ ๑๒๑๕/๒๔๙๒)


                           ข้อสังเกต

                           ๑.  ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๘๒  ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอ านาจสั่งถอนอ านาจ

                  ปกครองได้  ศาลอาจใช้อ านาจถอนอ านาจของผู้แทนโดยชอบธรรมเพียงบางส่วน  เฉพาะที่

                  เกี่ยวกับการด าเนินคดีแล้วตั้งผู้แทนเฉพาะคดีให้ผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการ

                  ด าเนินคดีตามมาตรา ๕๖ ก็ได้

                           ๒.   คดีละเมิดมิใช่คดีครอบครัวที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระท าการใด ๆ ในทางศาล

                  เกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัว ซึ่งจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐ (๓)

                  แห่งพ.ร.บ. ศาลเยาวชนฯ ดังนั้น  เมื่อมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับเรื่องความสามารถของโจทก์บางคน

                  ซึ่งเป็นผู้เยาว์  ศาลชั้นต้นจึงมีอ านาจแก้ไขข้อบกพร่อง โดยตั้งผู้แทนเฉพาะคดีให้ได้ตาม

                  มาตรา ๕๖ วรรคสุดท้าย  โดยไม่จ าเป็นต้องขออ านาจในการด าเนินคดีจากศาลเยาวชน

                  และครอบครัวกลาง (ฎีกาที่ ๗๑๙๕/๒๕๓๙)



                  ๔.  กรณีผู้เยาว์ถูกฟ้องและขอด าเนินคดีเอง

                        จ าเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์อ้างว่า ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม จึงขออนุญาตศาลด าเนินคดีด้วยตนเอง

                  ตามมาตรา ๕๖  ถ้าศาลเห็นว่าไม่ควรอนุญาต  สั่งว่า  “พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า จ าเลยเป็นผู้เยาว์และ

                  . . . (ระบุเหตุผล) . . . ยังไม่มีความสามารถพอที่จะด าเนินคดีด้วยตนเอง  จึงไม่อนุญาต นัดพร้อม


                  เพื่อหาผู้ด าเนินคดีแทน และให้จ าเลยมาศาลในวันนัด”    ถ้าศาลเห็นควรอนุญาต  สั่งว่า
                  “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า . . . ผู้เยาว์มีความสามารถพอที่จะด าเนินคดีด้วยตนเองได้แล้วอนุญาต


                  ให้ผู้เยาว์ด าเนินคดีได้เอง”

                        กรณีจ าเลยหลายคนยื่นค าให้การโดยเขียนรวมกันมาในฉบับเดียวกัน  มีจ าเลยบางคน

                  เป็นผู้เยาว์  สั่งว่า  “รับค าให้การเฉพาะจ าเลยที่ ๑ และที่ ๓ ส าเนาให้โจทก์  ส่วนค าให้การ

                  จ าเลยที่ ๒ นั้น  ปรากฏว่าจ าเลยที่ ๒ เป็นผู้เยาว์และไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมเข้าด าเนินคดีแทน

                  ให้นัดพร้อมเพื่อสั่งในเรื่องความสามารถของจ าเลยที่ ๒” และสั่งในใบแต่งทนายของจ าเลยที่ ๒

                  ว่า  “ให้รอไว้เพื่อหาผู้ด าเนินคดีแทนก่อน”
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49