Page 49 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 49
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๒๑
๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท ขึ้นไปคิดร้อยละ ๐.๑ เว้นแต่จะเข้าตามตาราง ๑ ท้าย ป.วิ.พ. (๑) (ข)
หรือ (ค) แต่ค่าขึ้นศาลที่ค านวณได้มีเศษไม่ถึง ๑ บาท ให้ปัดทิ้ง
ตัวอย่าง
ก. ทุนทรัพย์ ๙,๑๒๓,๑๒๓ บาท คิดร้อยละ ๒ เท่ากับ ๑๘๒,๔๖๒.๔๖ บาท
ปัดเศษ ๔๖ สตางค์ทิ้ง เสียค่าขึ้นศาล ๑๘๒,๔๖๒ บาท
ข. ทุนทรัพย์ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ถึง ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เสียค่าขึ้นศาล
๒๐๐,๐๐๐ บาท
ค. ทุนทรัพย์ ๑๕๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท เสียค่าขึ้นศาล ๓๐๐,๕๐๐ บาท มีวิธีคิด
ดังนี้
ทุนทรัพย์ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท คิดร้อยละ ๒ แต่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
ทุนทรัพย์ ๑๐๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท คิดร้อยละ ๐.๑ เท่ากับ ๑๐๐,๕๐๐ บาท
ข้อสังเกต
๑. โจทก์ฟ้องว่าผู้ตายท าพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้โจทก์ จ าเลยต่อสู้ว่าผู้ตาย
ท าพินัยกรรมยกทรัพย์พิพาทให้โจทก์และจ าเลยคนละครึ่ง ดังนี้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาล
ตามจ านวนทุนทรัพย์มรดกทั้งหมดเต็มจ านวนไม่ใช่ครึ่งเดียว (ฎีกาที่ ๑๕๑๖/ ๒๕๐๓ ประชุมใหญ่)
๒. คดีฟ้องบังคับให้โอนที่ดินตามสัญญาประมูลราคาที่ดิน คิดตามราคาที่ดิน
ในเวลาที่ยื่นฟ้อง (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๒๐/๒๔๙๙) ฟ้องขอไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากเป็ นคดี
พิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์ที่ขายฝากอันจะมีผลให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้หรือเสียสิทธิในทรัพย์นั้น
เข้าลักษณะมีทุนทรัพย์โดยถือตามราคาทรัพย์ที่ขายฝาก (ฎีกาที่ ๒๑๒๐/ ๒๕๔๐)
๓. ในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าจ านวนทุนทรัพย์ที่แท้จริงเป็นจ านวนเท่าใด ในทางปฏิบัติ
ศาลจะนัดพร้อมคู่ความทั้งสองฝ่ายมาตกลงกันว่าทุนทรัพย์ที่แท้จริงเป็นเท่าใด ในกรณีที่เป็น
ที่ดินอาจค านึงถึงราคาประเมินของทางราชการประกอบด้วย
๔. กรณีที่ศาลรับฟ้องไว้แล้ว จึงตรวจพบภายหลังว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลในอัตรา
ที่ไม่ถูกต้อง ศาลจะต้องสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่เห็นสมควร
ก าหนด หากโจทก์ไม่ปฏิบัติ ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามมาตรา ๑๗๔ (๒)
๕. ผู้ร้องสอดเข้ามาในฐานะเป็นจ าเลยไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล (ฎีกาที่ ๒๙๒๓/๒๕๒๘)