Page 99 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 99
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๗๑
บทที่ ๒
กระบวนการพิจารณาในชั้นชี้สองสถาน
๑. กระบวนพิจารณาที่ต้องกระท าและพึงกระท าก่อนวันชี้สองสถาน
๑.๑ กระบวนพิจารณาที่ต้องกระท า
๑.๑.๑ ศาลต้องก าหนดวันชี้สองสถานและแจ้งวันนัดให้คู่ความทราบ เมื่อได้ยื่น
ค าฟ้อง ค าให้การและค าให้การแก้ฟ้องแย้ง (ถ้าหากมี) แล้ว โดยศาลจะสั่งในค าให้การของจ าเลย
คนหลังสุดว่า “รับเป็นค าให้การ ส าเนาให้โจทก์ นัดชี้สองสถาน”พร้อมกับแจ้งก าหนดวัน
ชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน (มาตรา ๑๘๒ วรรคหนึ่ง)
การแจ้งก าหนดวันชี้สองสถานศาลจะมีค าสั่งให้โจทก์มีหน้าที่น าส่งก็ได้
(มาตรา ๗๐)
การชี้สองสถานเป็นการนั่งพิจารณาอย่างหนึ่ง (มาตรา ๑(๙)) ดังนั้น ถ้าคู่ความ
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายและแจ้งให้ศาลทราบแล้ว ศาลจะต้องสั่งเลื่อนการนัดชี้สองสถาน
ที่นัดไว้ออกไปจนกว่าจะมีบุคคลตามมาตรา ๔๒ เข้ามาเป็นคู่ความแทน (ฎีกาที่ ๑๐๑๐/๒๕๓๙)
๑.๑.๒ การพิจารณาเรื่องการขอแก้ไขค าฟ้องหรือค าให้การ ถ้าหากมีเพราะการแก้ไข
ค าฟ้องและค าให้การ (มาตรา ๑๘๐) นั้น ในคดีที่มีการชี้สองสถาน การร้องขอแก้ไขค าฟ้อง
หรือค าให้การจะต้องกระท าก่อนวันชี้สองสถาน เว้นแต่กรณีเข้าข้อยกเว้น ต่อไปนี้
๑.๑.๒.๑ ข้อที่ยกขึ้นขอแก้ไขนั้นเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๑.๑.๒.๒ เป็นข้อที่ไม่อาจยกขึ้นอ้างได้ก่อนวันชี้สองสถาน
๑.๑.๒.๓ เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เขียนผิด
พิมพ์ผิด เป็นต้น
หากมีการขอแก้ไขค าฟ้องหรือค าให้การก่อนวันชี้สองสถาน ก็ให้ศาล
ด าเนินการไปตามกฎหมายและมีค าสั่งในเรื่องนี้ก่อน
๑.๒ กระบวนพิจารณาที่พึงกระท า
๑.๒.๑ การสั่งให้คู่ความมาศาลด้วยตนเองตามมาตรา ๑๙ แม้ว่ากฎหมายจะมิได้
บังคับว่าจะต้องกระท าก่อนวันชี้สองสถาน แต่การสั่งให้คู่ความมาศาลด้วยตนเองจะก่อ
ประโยชน์ในการไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันตามที่บัญญัติไว้
ในมาตรา ๒๐ มาตรา ๒๐ ทวิ