Page 101 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 101

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๗๓


                             ๑.๒.๖  การเตรียมตัวของศาลก่อนวันชี้สองสถาน

                                     การชี้สองสถานเป็นกระบวนพิจารณาที่ส าคัญอย่างยิ่งขั้นตอนหนึ่ง

                  ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยแนวปฏิบัติในการนั่งพิจารณาคดีครบ

                  องค์คณะและต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๔๕  ข้อ ๘ ก าหนดว่า  ก่อนการประชุมคดีองค์คณะผู้พิพากษา

                  ต้องตรวจค าคู่ความให้เข้าใจถึงรูปคดี  ข้ออ้างและข้อเถียงของคู่ความแต่ละฝ่าย  ข้อกฎหมายที่

                  เกี่ยวข้องกับคดี  ตลอดจนควรพิจารณาถึงแนวทางที่จะท าให้การพิจารณาคดีเสร็จไปโดยเร็ว

                  ดังนั้น เพื่อให้การชี้สองสถานและการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รอบคอบ

                  และรวดเร็ว  สมควรที่ศาลจะได้เตรียมตัวหรือเตรียมคดีโดยการศึกษาค าคู่ความและถ้อยค า

                  ส านวน ในคดีที่รับผิดชอบให้เข้าใจไว้โดยละเอียดตั้งแต่ก่อนวันชี้สองสถาน เพื่อจะได้ทราบว่า

                  คดีมีประเด็นข้อพิพาทอย่างไร  มีช่องทางที่จะสอบถามให้คู่ความยอมรับกันได้อย่างไร ข้อเท็จจริง

                  ใดควรจะสอบถามคู่ความให้กระจ่างขึ้นหรือไม่  รูปคดีควรจะต้องมีการท าแผนที่พิพาทหรือไม่


                  หรือให้คู่ความตรวจสอบเอกสารหรือพยานวัตถุกันก่อนหรือไม่  การเตรียมคดีของศาลเช่นนี้
                  จะท าให้สามารถน ากระบวนพิจารณาที่พึงกระท าก่อนวันชี้สองสถานมาใช้ได้อย่างเหมาะสม


                  อีกทั้งยังช่วยให้การไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กับท าให้การ

                  ก าหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่น าสืบเป็นไปโดยถูกต้องและเป็นธรรม


                  ๒.  กระบวนพิจารณาที่ต้องกระท าและพึงกระท าในวันชี้สองสถาน


                         ๒.๑  การสอบถามคู่ความ


                         ๒.๒  การก าหนดประเด็นข้อพิพาท


                         ๒.๓  การก าหนดหน้าที่น าสืบหรือภาระการพิสูจน์

                         ๒.๔  การก าหนดวันสืบพยาน


                         การชี้สองสถาน คือ กระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นเพื่อก าหนดประเด็นข้อพิพาทและ

                  หน้าที่น าสืบ โดยคู่ความตกลงกันหรือศาลเป็นผู้ก าหนดด้วยการตรวจค าคู่ความและฟังค าแถลง

                  ของคู่ความตามที่เห็นเป็นการจ าเป็น  ซึ่งอาจแยกการชี้สองสถานออกเป็น


                         ๒.๑  การสอบถามคู่ความ

                                       ตามมาตรา  ๑๘๓ วรรคสอง บัญญัติให้ศาลสอบถามคู่ความเกี่ยวกับข้อเท็จจริง

                  ในข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาล  โดยศาลจะเป็นผู้ถามเองหรือถามตามค าขอ

                  ของคู่ความฝ่ายอื่น  ถ้าคู่ความฝ่ายที่ศาลถามไม่ยอมตอบค าถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด  หรือปฏิเสธ

                  ข้อเท็จจริงใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร  ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นยอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว  เว้นแต่
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106