Page 106 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 106
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๗๘
เมื่อได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าเป็นที่ทราบกันทั่วไปและเป็นข้อที่ศาลรู้เอง (ฎีกาที่
๓๕๙/๒๕๓๐)
- แต่การที่อธิบดีโจทก์ จะเป็นอธิบดีที่มีอ านาจกระท าการแทนโจทก์
ในขณะฟ้องคดีหรือไม่ ซึ่งจ าเลยได้ให้การปฏิเสธไว้โดยชัดแจ้งและศาลชั้นต้นก าหนดเป็น
ประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องน าสืบ มิใช่เป็น
ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป (ฎีกาที่ ๔๘๒๒/๒๕๓๓) ข้อเท็จจริงว่านาย อ. ยังคงด ารงต าแหน่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้าง ไม่ใช่ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้
กันทั่วไป เมื่อโจทก์ไม่น าสืบ โจทก์จึงไม่มีอ านาจฟ้อง (ฎีกาที่ ๒๕๔๘/๒๕๓๔) ข้อเท็จจริงที่ว่า
ใครด ารงต าแหน่งอธิบดีกรมอัยการในขณะเกิดเหตุ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป
- การประกาศเปลี่ยนชื่อหน่วยราชการเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป
ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลรู้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ (ฎีกาที่ ๔๘๐๖/๒๕๔๐)
- กฎหมายและการตีความกฎหมาย เป็นเรื่องที่ศาลรู้ได้เอง เป็นอ านาจ
ของศาลโดยเฉพาะในอันที่จะตีความตัวบทกฎหมายไทย (ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ
พระราชก าหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง) การตีความกฎหมายจึงเป็นปัญหา
ข้อกฎหมาย คู่ความไม่จ าต้องน าสืบ เช่น โจทก์เป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ. ธนาคารอาคาร
สงเคราะห์ ฯ จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ในเอกสารตามที่กฎหมายบังคับให้ปิด
ตาม พ.ร.ฎ ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฯ และเป็นสิ่งที่ศาลรู้เอง
โจทก์ไม่ต้องน าสืบ (ฎีกาที่ ๑๔๓๔/๒๕๔๕)
- ตามมาตรา ๖ แห่ง พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯ
มีข้อความก าหนดวัตถุประสงค์การจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งเห็นได้
อยู่ในตัวว่าเป็นการแสวงหาก าไรทางเศรษฐกิจ ดังนี้ ศาลย่อมวินิจฉัยว่าจ าเลยมีวัตถุประสงค์
แสวงหาก าไรทางเศรษฐกิจได้ เพราะเป็นเรื่องการแปลข้อกฎหมาย มิใช่ข้อเท็จจริง (ฎีกาที่ ๒๕๔๑/
๒๕๓๓)
- แต่ประกาศของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการที่กฎหมายให้อ านาจ
ในการที่จะออกประกาศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ประกาศของเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุม
เครื่องอุปโภคบริโภคฯ ไม่เป็นกฎหมาย เป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ผู้กล่าวอ้างต้องน าสืบ
- ประกาศกระทรวงการคลัง ซึ่งออกโดยอาศัยอ านาจตาม พ.ร.บ.
ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๒๓ หาใช่ข้อกฎหมายอันถือเป็นเรื่องที่ศาลจะ
รับรู้เอง แต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความมีหน้าที่ต้องน าสืบ เมื่อโจทก์ไม่น าสืบจึงไม่มีสิทธิคิด
ดอกเบี้ยเกินไปจากอัตราปกติตามกฎหมายบัญญัติไว้ (ฎีกาที่ ๖๕๐/๒๕๓๒,๕๖๗/๒๕๓๖