Page 110 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 110
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๘๒
- ก่อนวันสืบพยานจ าเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นค าให้การ ทนายโจทก์และ
ทนายจ าเลยที่ ๒ และที่ ๓ มาศาลร่วมกันแถลงคดีตกลงกันได้เกือบเสร็จสิ้นขอเลื่อนคดีเพื่อ
ท ายอม และฝ่ายจ าเลยที่ ๒ และที่ ๓ ยินดีสละข้อต่อสู้ตามค าให้การทั้งหมด คงเหลือประเด็น
ค่าเสียหาย หากนัดหน้าท ายอมไม่ได้ก็ติดใจสู้ประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียว ศาลชั้นต้นจดรายงาน
กระบวนพิจารณาไว้อ่านให้คู่ความฟังและลงชื่อไว้ รายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าว
เป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔๙ และค าแถลงของทนายจ าเลยที่ ๒ และที่ ๓
ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงในการสละสิทธิในข้อต่อสู้ตามค าให้การของตนทั้งหมดในประเด็นอื่น
รวมทั้งประเด็นที่ว่าจ าเลยที่ ๑ เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจ าเลยที่ ๒ ด้วย และกรณีย่อมถือ
ได้ว่าจ าเลยที่ ๒ และที่ ๓ ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามค าฟ้องของโจทก์แล้วว่าจ าเลยที่ ๑ เป็นลูกจ้าง
ในทางการที่จ้างของจ าเลยที่ ๒ จริง โจทก์ไม่ต้องน าสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีกต่อไป (ฎีกาที่
๙๘๗/๒๕๔๑)
- ค าให้การรับ ค าให้การที่ไม่กล่าวถึงในข้อใดที่โจทก์กล่าวอ้าง
ย่อมถือว่ารับแล้ว โจทก์ไม่ต้องน าสืบ (ฎีกาที่ ๒๑๘/๒๔๘๘)การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ไม่ว่า
ปฏิเสธทั้งสิ้นหรือบางส่วนจ าเลยต้องให้เหตุแห่งการปฏิเสธไว้ เท่ากับจ าเลยจะต้องกล่าวอ้าง
ข้อเท็จจริงไว้ในค าให้การเพื่อตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาท มิฉะนั้นจ าเลยจะไม่มีประเด็นอะไร
ให้น าสืบตามหน้าที่ของจ าเลยได้ จ าเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบ
ด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้ให้เหตุแห่งการปฏิเสธ อีกทั้งไม่ได้ให้การปฏิเสธฟ้องว่าจ าเลยที่ ๑
ไม่ได้ออกเช็ค จ าเลยที่ ๒ ไม่ได้สลักหลังเช็ค และธนาคารผู้จ่ายไม่ได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค
ต้องถือว่าจ าเลย ทั้งสองยอมรับว่า จ าเลยที่ ๑ ออกเช็ค จ าเลยที่ ๒ สลักหลังเช็คเพื่อช าระหนี้แก่
โจทก์ และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ไม่จ าต้องให้คู่ความน าสืบข้อเท็จจริงอื่นใดอีก
(ฎีกาที่ ๒๖๔๗/๒๕๓๕) จ าเลยมิได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ถือว่าจ าเลยรับ
ข้อเท็จจริงนั้นแล้ว (ฎีกาที่ ๑๓๑๐/๒๕๒๐) โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจ าเลยที่ ๒ และ
ที่ ๓ จ าเลยที่ ๒ และที่ ๓ ให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจ าเลยที่ ๒ และที่ ๓ โดยซื้อมาจาก
จ าเลยที่ ๑ โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ตามค าให้การดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่าจ าเลยที่ ๒
และที่ ๓ มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาแต่ต้น จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่ง
การครอบครองที่จะต้องวินิจฉัยเพราะการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗๕
จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นมิใช่เป็นที่ดินของตนเอง (ฎีกาที่ ๔๕๔/๒๕๕๓, ๓๑๘๗/
๒๕๕๓, ๔๖๕๙/๒๕๕๔)
- ค าให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่เป็นการเจาะจงว่าจะปฏิเสธข้อใดหรือ
คลุมเครือ ไม่แน่นอน เช่น “นอกจากที่จ าเลยจะให้การต่อไปนี้ขอให้ถือว่าปฏิเสธฟ้อง”