Page 109 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 109
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๘๑
ตัวอย่าง
พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๙ การโอนสินทรัพย์จาก
สถาบันการเงินไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ . . . ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (ค าวินิจฉัยที่ ๔๐/
๒๕๔๕ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐)
พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๑๔ ที่ว่า ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยมีอ านาจก าหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดังต่อไปนี้…(๒) ดอกเบี้ย
หรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔, ๕, ๒๖,
๒๗, ๒๘ วรรคสอง, ๒๙, ๕๐, ๕๗, ๖๐, และมาตรา ๘๗ (ค าวินิจฉัยที่ ๗/๒๕๔๓, ๑๓/๒๕๔๕,
๔๕/๒๕๔๕, ๔๖/๒๕๔๕ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐)
พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิต
ฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๐ ที่ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของ
รัฐมนตรี มีอ านาจก าหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลด ค่าบริการ
ผลประโยชน์ และหลักประกัน ตั้งแต่ (๑) ถึง (๕) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐,
๕๐, ๕๗, และ ๘๗ (ค าวินิจฉัยที่ ๗/๒๕๔๕, ๔๗/๒๕๔๕)
การใช้อ านาจของ กกต. เกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง
และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๔ วรรคสอง, ๑๔๕
วรรคหนึ่ง เป็นลักษณะการใช้อ านาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอันมีผลให้การวินิจฉัยชี้ขาดของ
กกต. ถือเป็นยุติ มิใช่เป็นการใช้อ านาจทางบริหารหรือทางปกครอง จึงไม่อยู่ในเขตอ านาจของ
ศาลปกครอง (ค าวินิจฉัยที่ ๕๒/๒๕๔๖)
๒.๓.๔.๓ ข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความอีกฝ่ายได้รับแล้ว (หรือถือว่ารับกันแล้ว)ในศาล
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เช่าตึกแถวจากจ าเลยโดยโจทก์ช าระค่าเช่า
ล่วงหน้าต่อมาโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าและขอรับเงินค่าเช่าล่วงหน้าคืนจากจ าเลย จ าเลยให้การ
ว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบก าหนดจึงไม่ต้องคืนค่าเช่าล่วงหน้า วันนัดชี้สองสถาน ศาลจด
รายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ยื่นต้นฉบับเอกสาร ๔ ฉบับ ศาลหมาย จ.๑ ถึง จ.๔ และ
ได้สอบถามทนายจ าเลยถึงค าให้การแล้ว ทนายจ าเลยแถลงว่า จ าเลยได้ท าสัญญาเช่าตามเอกสาร
หมาย จ.๑ และจ าเลยลงลายมือชื่อส่งมอบตึกที่เช่าคืนและเลิกสัญญาเช่าตามเอกสารหมาย จ.๒จริง
ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ว่าจ าเลยได้ให้โจทก์เช่าตึกแถว และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าโดยส่งมอบ
ตึกแถวที่เช่าคืนให้แก่จ าเลยเป็นที่เรียบร้อยตามฟ้องโจทก์จริง (ฎีกาที่ ๗๖๐/๒๕๓๙)
คู่มือการชี้สองสถาน โดยศาสตราจารย์ศักดิ์ สนองชาติ