Page 113 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 113

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๘๕


                                      ตัวอย่าง

                                      - ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๒๗  ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นของแท้จริงและ

                  ถูกต้อง ได้แก่ เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ท าขึ้นหรือรับรอง หรือส าเนาอันรับรอง

                  ถูกต้อง และเอกสารเอกชนที่มีค าพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง  เป็นหน้าที่ของ

                  คู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องน าสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร

                  เช่น บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่รับรองเป็นเอกสารมหาชนต้องสันนิษฐาน

                  ไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามป.วิ.พ. มาตรา ๑๒๗ เมื่อผู้ร้องอ้างว่า บัญชีรายชื่อ

                  ผู้ถือหุ้นไม่ถูกต้องเพราะมีการช าระค่าหุ้นพิพาทเต็มมูลค่าแล้ว  ผู้ร้องจึงมีหน้าที่น าสืบให้ได้ความ

                  (ฎีกาที่ ๘๔๘/๒๕๓๔) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจ าเลยที่ ๑ เป็นห้าง


                  หุ้นส่วนจ ากัด มีจ าเลยที่ ๒ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ  เป็นเอกสารมหาชน  ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
                  เป็นของแท้จริงและถูกต้อง จ าเลยที่ ๒ อ้างว่า มิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจ าเลยที่ ๑ จ าเลยที่ ๒


                  ต้องน าสืบถึงความไม่ถูกต้องแท้จริงแห่งเอกสาร (ฎีกาที่ ๓๓๖๙/๒๕๔๑) โฉนดที่ดินเป็นเอกสาร

                  มหาชนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง โจทก์และจ าเลยมีชื่อในโฉนดที่ดิน  จ าเลยกล่าวอ้างว่า

                  โจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนจ าเลย  จ าเลยมีภาระการพิสูจน์ (ฎีกาที่ ๑๘๑/๒๕๓๖, ๒๗๘๑/๒๕๓๖,

                  ๔๓๔๕/๒๕๓๖) ส าเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชน (ฎีกาที่ ๗๑๑๕/๒๕๔๒) ส าเนาหนังสือสัญญา

                  ขายฝากที่ดินพิพาทเป็นส าเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้

                  ท าขึ้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๒๗ บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง

                  จ าเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายัน ต้องน าสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้อง

                  แห่งเอกสาร (ฎีกาที่ ๑๕๐๑/๒๕๕๔)

                                      - ป.พ.พ. มาตรา  ๔๒๘ บัญญัติว่า “ผู้ว่าจ้างท าของไม่ต้องรับผิดเพื่อความ

                  เสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างท าการงานที่ว่าจ้าง  เว้นแต่

                  ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ท าหรือในค าสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง”

                  โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องน าสืบให้ได้ความว่าจ าเลยเป็นผู้ผิดตามมาตรา ๔๒๘ ดังกล่าว

                  แต่ข้อเท็จจริงตามทางน าสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจ าเลยเป็นผู้ผิดในส่วนสั่งให้ท าหรือในค าสั่ง

                  ที่ตนให้ไว้แก่ผู้รับจ้างอย่างไรและในการเลือกผู้รับจ้างคือบริษัท ฟ. ซึ่งเป็นผู้ตอกเสาเข็มและ

                  ก่อสร้างฐานรากก็ปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นพิเศษในการก่อสร้างอาคารสูง การที่

                  จ าเลยว่าจ้างบริษัท ป. เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบ ย่อมหมายความว่า  จ าเลย

                  ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องหรือสั่งการในการท างานแต่อย่างใด  เพราะเป็นหน้าที่ของบริษัททั้งสอง

                  เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นโจทก์จะต้องไปเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากผู้ก่อสร้างคือบริษัท ฟ.ซึ่งเป็น

                  ผู้ท าละเมิด  จ าเลยไม่ได้กระท าการอย่างหนึ่งอย่างใดอันท าให้จ าเลยต้องรับผิดตาม ป.พ.พ.
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118