Page 114 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 114

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๘๖


                  มาตรา ๔๒๘ (ฎีกาที่ ๑๖๒/๒๕๔๔) แม้ว่า ป.พ.พ. มาตรา ๕ จะบัญญัติไว้ว่า “ในการใช้สิทธิแห่งตน

                  ก็ดี  ในการช าระหนี้ก็ดีบุคคลทุกคนต้องกระท าการโดยสุจริต” แต่มาตรา ๖ ก็ได้บัญญัติต่อไปว่า

                  “ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระท าการโดยสุจริต” โจทก์จึงได้รับประโยชน์จาก

                  ข้อสันนิษฐานในกฎหมายดังกล่าวว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริต  จ าเลยทั้งสองจะต้องให้การ

                  โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอย่างไร  เพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทในค าให้การ

                  จึงจะน าสืบหรือยกขึ้น ว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ฎีกาเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานในกฎหมายดังกล่าวได้

                  เมื่อจ าเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตไว้ในค าให้การ

                  แม้จ าเลยทั้งสองจะได้กล่าวอ้างไว้ในค าร้องขอพิจารณาคดีใหม่ แต่ไม่ใช่ค าให้การ จึงไม่ก่อให้เกิด

                  ประเด็นข้อพิพาท(ฎีกาที่ ๒๑๒๙/๒๕๕๔)


                             ๒.๓.๕  แม้ศาลจะก าหนดให้โจทก์มีหน้าที่น าสืบตามประเด็นข้อพิพาทแต่จ าเลย
                  อาจไม่มีสิทธิน าสืบแก้  หากจ าเลยให้การต่อสู้ไม่ชัดแจ้ง  หรือให้การปฏิเสธลอย  จ าเลยจึงไม่มี


                  ประเด็นที่จะสืบแก้
                             ๒.๓.๖  เมื่อศาลก าหนดหน้าที่น าสืบหรือภาระการพิสูจน์ครบทุกประเด็นแล้วก็จะ


                  ก าหนดต่อไปให้คู่ความฝ่ายใดน าสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลัง  แต่ถ้าคดีมีประเด็นหลาย

                  ประเด็น และหน้าที่น าสืบกลับไปกลับมา  เพื่อความสะดวกศาลอาจใช้ดุลพินิจก าหนดให้คู่ความ

                  ฝ่ายใดน าสืบก่อนทั้งหมดทุกประเด็นก็ได้  ถ้าจะไม่ท าให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันในเชิง

                  คดีจนเสียความยุติธรรม

                             ๒.๓.๗  หลักที่ว่า ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้นั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น

                                      - อายุความ การที่โจทก์น าคดีมาฟ้องย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่า

                  คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ การที่จ าเลยต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความแล้ว โจทก์จึงต้องมีหน้าที่น าสืบ

                  (ฎีกาที่ ๑๓๗๘/๒๕๒๔, ๑๙๕๕/๒๕๓๑, ๓๐๔๒/๒๕๔๘) โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คเมื่อพ้น

                  ก าหนด ๑ ปี นับแต่วันครบก าหนดช าระเงินตามเช็ค  จ าเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ

                  ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องน าสืบให้ได้ความว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์

                  ไม่น าสืบหรือน าสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว  โดยไม่ต้องให้จ าเลยน า

                  พยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างหรือต้องรับฟังพยานหลักฐานฝ่ายจ าเลยเมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์

                  น าสืบรับฟังไม่ได้ว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ  การที่ศาลชั้นต้นมีค าสั่งงดสืบพยานจ าเลย

                  หลังจากโจทก์น าพยานเข้าสืบเสร็จแล้ว และพิพากษายกฟ้องจึงชอบแล้ว(ฎีกาที่ ๔๖๑๐/๒๕๔๗)

                  โจทก์ฟ้องขอให้จ าเลยช าระหนี้ตามสัญญากู้เงินรวม ๔ ฉบับ จ าเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญากู้เงิน

                  ตามฟ้องไม่มีก าหนดเวลาช าระหนี้  โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันท าสัญญากู้เงิน

                  แต่ละฉบับ  โจทก์น าคดีมาฟ้องเกินกว่า ๑๐ ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาท
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119