Page 112 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 112
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๘๔
ข้อพิพาทโจทก์ต้องน าสืบให้ได้ความตามฟ้องจึงจะชนะ (ฎีกาที่ ๗๗๑๔/๒๕๔๗, ๑๐๖๖๒/๒๕๕๑,
๕๘๘/๒๕๕๓, ๑๐๖๙/๒๕๕๔)
ข้อสังเกต
ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๙๔๙/๒๕๔๑ จ าเลยให้การตอนแรกว่าจ าเลย
ไม่เคยกู้เงินและรับเงินจากโจทก์ สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ลายมือชื่อช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อ
ของจ าเลย โจทก์ท าขึ้นเอง เป็นค าให้การที่แสดงการปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าจ าเลยมิได้กู้เงิน
และรับเงินกู้จากโจทก์รวมทั้งอ้างเหตุแห่งการนั้นว่าสัญญากู้ที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม
ส่วนที่จ าเลยให้การตอนหลังว่า หากศาลฟังว่าสัญญากู้เป็นเอกสารแท้จริง โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง
ตามกฎหมายนั้น ก็มิใช่เป็นค าให้การที่ยอมรับหรือถือว่าจ าเลยได้กู้เงินจากโจทก์จริง จึงมิได้ขัดแย้ง
กันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในค าฟ้องโจทก์ จ าเลยย่อมมีสิทธิน าพยานเข้าสืบ
ตามค าให้การ
๒.๓.๔.๔ มีข้อสันนิษฐานของกฎหมายหรือข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็น
ซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่ฝ่ายใด ฝ่ายนั้นก็น าสืบแต่เพียงว่า
ตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นแล้ว (มาตรา ๘๔/๑)
ข้อสันนิษฐานที่กฎหมายบัญญัติขึ้น อันเป็นผลให้คู่ความฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน
น าสืบเป็นเบื้องต้นแต่เพียงว่าได้ปฏิบัติตนตามเงื่อนไขแห่งข้อสันนิษฐานนั้นคือพิสูจน์
ข้อเท็จจริงที่เป็นเงื่อนไขแห่งการสันนิษฐาน
ข้อสันนิษฐานแบ่งเป็น ๒ ประเภท
ก. ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด คือข้อสันนิษฐานที่กฎหมายไม่เปิดโอกาสให้มี
การน าสืบโต้แย้งหรือหักล้างได้ ข้อสันนิษฐานนี้มักจะใช้ค าว่า “ให้ถือว่า” หรือ “ต้องถือว่า”
เช่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๐, ๑๒, ๑๔, ๑๖, ๑๗, ๓๘, ๓๙, ๔๐, ๔๒, ๖๒
ข. ข้อสันนิษฐานไม่เด็ดขาด คือข้อสันนิษฐานที่กฎหมายเปิดโอกาสให้มีการน า
สืบโต้แย้งหรือหักล้างได้ เช่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖, ๑๙๒, ๒๐๓ วรรคสอง, ๓๒๑ วรรคสอง,
๓๖๓ วรรคสาม, ๔๐๓ วรรคสอง, ๔๒๒, ๕๖๑, ๕๖๕, ๕๘๑, ๖๗๒ วรรคหนึ่ง, ๘๐๒, ๘๐๔,
๘๔๙, ๘๕๕ วรรคสอง, ๘๗๗ วรรคสอง, ๑๐๒๔, ๑๐๒๗, ๑๑๔๑, ๑๒๐๗ วรรคหนึ่ง, ๑๓๔๔,
๑๓๔๖ วรรคหนึ่ง, ๑๓๔๘, ๑๓๕๗, ๑๓๕๘ วรรคหนึ่ง, ๑๓๖๐ วรรคสอง, ๑๓๖๙, ๑๓๗๐,
๑๓๗๑, ๑๓๗๒, ๑๓๗๓, ๑๔๑๘ วรรคสอง, ๑๔๓๐ วรรคสอง, ๑๖๕๑ วรรคสอง, ๑๖๘๓,
๑๗๑๕ วรรคสอง, ๑๗๔๖