Page 119 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 119
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๙๑
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน โจทก์ทั้งห้าย่อมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของ
กฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗๓ มิใช่ว่าจ าเลยที่ ๑ เป็นผู้ครอบครองแล้วจ าเลยที่ ๑ จะได้รับ
ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามมาตรา ๑๓๖๙ และ ๑๓๗๐ ภาระการพิสูจน์
ในประเด็นข้อนี้จึงตกอยู่แก่จ าเลยที่ ๑ (ฎีกาที่ ๓๔๘๕/๒๕๕๓)โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ในโฉนดที่ดินย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗๓
ว่าเป็นของโจทก์ เมื่อจ าเลยกล่าวอ้างว่าจ าเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
จึงเป็นหน้าที่ของจ าเลยที่จะต้องน าสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่
จ าเลย (ฎีกาที่ ๓๕๕๘/๒๕๕๓, ๔๘๒๓ - ๔๘๒๔/๒๕๕๔, ๑๗๑๐/๒๕๕๕, ๒๑๕๖/๒๕๕๕)
ที่ดินตาม น.ส.๓ หรือ น.ส. ๓ ก. เป็นที่ดินที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดินของส านักงานที่ดินอ าเภอ
จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนที่ดิน ดังนั้น ข้อสันนิษฐานตามป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗๓ ว่า
อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียน
เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ย่อมรวมถึงที่ดินที่มี น.ส.๓ หรือ น.ส.๓ ก.ด้วย (ฎีกาที่ ๓๕๖๕/๒๕๓๘)
จ าเลยให้การรับว่า โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการท าประโยชน์(น.ส.๓)
เลขที่ ๒๔๑ ด้วย โจทก์จึงย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.
มาตรา ๑๓๕๗ ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน จ าเลยซึ่งอ้างว่า
โจทก์มีส่วนในที่ดินตามหนังสือรับรองการท าประโยชน์ (น.ส.๓) เลขที่ ๒๔๑ เพียง ๓ งาน
จึงมีภาระการพิสูจน์ ที่ศาลชั้นต้นก าหนดให้โจทก์มีภาระการพิสูจน์ ในประเด็นนี้จึงไม่ถูกต้อง
ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอ านาจ
ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ (ฎีกาที่ ๙๓๒๔/๒๕๕๓)
- แม้จ าเลยจะมีค าสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่าจ าเลยได้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี
สามารถพิสูจน์ได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ค าสั่งของศาลชั้นต้นย่อมไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๑๔๕ วรรคสอง (๒) (ฎีกาที่ ๑๙๕๘/๒๕๓๓)
- ที่ดินมีโฉนดที่ดินมีผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ผู้คัดค้าน
จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗๓ ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
ส่วนบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทที่เป็นส่วนควบของที่ดินและเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านตาม
ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๔ ด้วย หากผู้ร้องโต้แย้งว่าบ้านเป็นของบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน
ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนควบของที่ดินแล้ว ผู้ร้องต้องมีภาระการพิสูจน์ (ฎีกาที่
๔๐๘๔/๒๕๔๕) แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) เป็นหลักฐานที่รับฟังได้แต่เพียงว่า
ขณะแจ้งการครอบครอง ผู้แจ้งอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้แจ้งมิใช่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ใน