Page 120 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 120

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๙๒


                  ทะเบียนที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๓๗๓ อันจะท าให้โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่า

                  เป็นผู้มีสิทธิครอบครองจ าเลยเป็นฝ่ายยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท  จ าเลยย่อมได้รับประโยชน์

                  จากข้อสันนิษฐานตามมาตรา ๑๓๖๙ ว่าจ าเลยยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน  จึงตกเป็นหน้าที่ของ

                  โจทก์ที่ต้องน าสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว (ฎีกาที่ ๘๐๙๓/๒๕๕๑)

                                      ข้อสังเกต

                                      ตามแนวค าพิพากษาศาลฎีกา  เอกสารสิทธิ เช่น หนังสือรับรอง การท าประโยชน์

                  โฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิตามกฎหมายอื่นที่ได้มีการจดแจ้งทางทะเบียน เป็นต้น  ถือเป็นทะเบียน

                  ที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗๓ เช่น ฎีกาที่ ๒๕๑๖/๒๕๔๙, ๕๒๕๒/๒๕๕๐

                                      - ฟ้องเรียกโคคืนจากจ าเลย จ าเลยต่อสู้ว่าโคเป็นของจ าเลยให้โจทก์


                  ลงชื่อในตั๋วพิมพ์แทน ดังนี้  ต้องสันนิษฐานว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ตามตั๋ว จ าเลยต้องมีหน้าที่น าสืบ
                  (ฎีกาที่ ๒๗๑/๒๔๗๒)


                                      - ถ้าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ไม่มีทะเบียนกรรมสิทธิ์   เช่น ที่ดินมือเปล่า

                  สังหาริมทรัพย์ทั่ว ๆ ไป ฝ่ายใดยึดถือไว้ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่ามีสิทธิครอบครอง

                  ฝ่ายที่โต้แย้งมีหน้าที่น าสืบ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๖๗, ๑๓๖๙)ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มี

                  หนังสือส าคัญส าหรับที่ดิน จ าเลยเป็นผู้ครอบครองต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจ าเลยเป็นผู้ครอบครอง

                  ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๖๗ โจทก์อ้างว่าจ าเลยครอบครองแทน ส.  ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ (ฎีกาที่

                  ๑๖๒๒/๒๕๓๙) ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการท าประโยชน์ (น.ส.๓) ซึ่งมี

                  เพียงสิทธิครอบครอง  การซื้อขายย่อมกระท าได้โดยการส่งมอบการครอบครอง เมื่อมีข้อโต้เถียง

                  ว่าการที่จ าเลยเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยโจทก์หรือโดยการซื้อแล้วเข้าครอบครองอย่างเป็น

                  เจ้าของ จ าเลยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๖๙

                  โจทก์จึงมีหน้าที่น าสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว (ฎีกาที่ ๑๙๙๙/๒๕๓๗, ๔๓๔๓/๒๕๓๙, ๗๖๑๙/

                  ๒๕๔๓) ข้อสันนิษฐานรวมถึง น.ส.๓ ก ด้วย (ฎีกาที่ ๓๕๖๕/๒๕๓๘)

                                      ตัวอย่าง

                                      - ฟ้องเรียกเครื่องเรือนคืนจากจ าเลย จ าเลยให้การว่าทรัพย์พิพาทเดิม

                  เป็นของโจทก์จริง แต่โจทก์ได้ขายให้แก่จ าเลย จ าเลยช าระราคาแก่โจทก์แล้ว  คู่ความรับกันว่า

                  ทรัพย์พิพาทอยู่ที่จ าเลย  ดังนี้ โจทก์มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ตามฟ้อง (ฎีกาที่ ๓๐๔/๒๔๘๖)

                                      - โจทก์ฟ้องว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดยจ าเลยตีใช้หนี้  จ าเลยให้การว่า ไม่เคย

                  ยกที่ดินใช้หนี้โจทก์ โจทก์เข้าอยู่อาศัยโดยใช้สิทธิจ าเลย  เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่มี

                  หนังสือส าคัญส าหรับที่ดิน และโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาท จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐาน
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125