Page 121 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 121

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๙๓


                  ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๓๖๙ ว่าโจทก์เข้ายึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครอง

                  จ าเลยมีหน้าที่น าสืบ (ฎีกาที่ ๗๐๓/๒๕๐๘)

                                      - โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจ าเลยอ้างว่าเป็นมรดกของมารดาตกได้แก่

                  โจทก์จ าเลยร่วมกัน จ าเลยให้การว่ามารดายกที่ดินพิพาทให้จ าเลยเพียงผู้เดียว จ าเลยครอบครอง

                  เพื่อตนมากว่า ๑๐ ปีแล้ว ที่ดินพิพาทมิใช่มรดก เท่ากับปฏิเสธว่าที่ดินพิพาทมิใช่มรดกของมารดา

                  เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า  จ าเลยเป็นฝ่ายครอบครอง  จ าเลยย่อมได้รับประโยชน์จาก

                  ข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๖๙, ๑๓๗๒ ว่ามีสิทธิครอบครอง โจทก์มีหน้าที่น าสืบ

                  (ฎีกาที่ ๓๐๕๙ - ๓๐๖๐/๒๕๑๖)

                                      ข้อสังเกต


                                      ถ้าเป็นคดีพิพาทกันระหว่างเจ้าพนักงานกับราษฎร  ราษฎรอ้างว่าที่ดินพิพาท
                  เป็นของตน  แต่เจ้าพนักงานอ้างว่าเป็นที่สาธารณะ  แม้ราษฎรจะเป็นผู้ครอบครองก็ไม่ได้รับ


                  ประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน เพราะราษฎรจะยกเอาการครอบครองขึ้นยันต่อรัฐไม่ได้

                  ต้องกลับไปใช้หลักทั่วไปที่ว่า  ผู้ใดกล่าวอ้างต้องมีหน้าที่น าสืบ (ฎีกาที่ ๕๙๒/๒๕๑๓) ภาระการพิสูจน์

                  ย่อมตกแก่ผู้กล่าวอ้าง (ฎีกาที่ ๗/๒๕๓๙)

                                      ๒.๓.๘.๒ ข้อสันนิษฐานในเรื่องละเมิด มีข้อสันนิษฐานเป็นคุณแก่

                  ผู้เสียหาย  ท าให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีภาระการพิสูจน์  เช่น  ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๓๓, ๔๓๗

                  เรือกลไฟของจ าเลยโยงเรือของโจทก์และท าให้เรือที่โยงล่ม กรณีต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา  ๔๓๗

                  จ าเลยมีหน้าที่ต้องน าสืบ (ฎีกาที่ ๖๒๗/๒๔๘๖)

                                                - ยานพาหนะที่เดินด้วยก าลังเครื่องจักรกลด้วยกันโดนกัน

                  เสียหายไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา ๔๓๗ หน้าที่น าสืบตกอยู่ในหลักธรรมดา คือ ฝ่ายใด

                  กล่าวอ้าง อีกฝ่ายหนึ่งท าละเมิด ฝ่ายที่กล่าวอ้างต้องน าสืบก่อน  (ฎีกาที่ ๘๒๘/๒๔๙๐, ๒๓๗๙ - ๒๓๘๐/

                  ๒๕๓๒, ๓๙๖/๒๕๔๔)

                                                - กรณีที่เข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๓๗ จะต้องเป็น

                  ความเสียหายที่เกิดจากตัวทรัพย์นั้นโดยตรง  แม้กระแสไฟฟ้าจะเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตราย

                  โดยสภาพ ตามมาตรา ๔๓๗ วรรคสอง แต่ตามฟ้องโจทก์อ้างว่าเหตุละเมิดเพราะจ าเลย

                  (การไฟฟ้า ฯ)ไม่ตัดกระแสไฟฟ้าท าให้ไม่ปลอดภัยต่อการดับเพลิง เป็นเหตุให้เพลิงลุกลามไหม้

                  บ้านโจทก์ ซึ่งเป็นการกระท าของบุคคล หาใช่เกิดจากตัวทรัพย์คือกระแสไฟฟ้า โจทก์จึงมีภาระ

                  การพิสูจน์ (ฎีกาที่ ๖๘๙๒/๒๕๓๗) แท่นไฮดรอลิกส าหรับเทน ้าตาลดิบออกจากรถยนต์บรรทุก

                  ซึ่งจอดอยู่บนแท่นไฮดรอลิกนั้นลงฉางเก็บ เป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยอาการกลไก

                  ของทรัพย์นั้น ซึ่งจ าเลยที่ ๑ ผู้มีไว้ในครอบครองจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหาย อันเกิดแต่
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126