Page 123 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 123
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๙๕
มาเข้าบัญชีของจ าเลยที่ ๑ ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นอย่างอื่น ในเบื้องต้นต้องฟังว่าเงินจ านวนดังกล่าว
เป็นของจ าเลยที่ ๑ ผู้เป็นเจ้าของบัญชี เมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าเงินจ านวนดังกล่าวมิใช่เป็นของ
จ าเลยที่ ๑ ผู้คัดค้านจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ฟังได้ตามข้ออ้างของตน (ฎีกาที่ ๔๑๗๑/๒๕๓๒)
- ถ้าข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ในความรู้เห็นของคู่ความฝ่ายใด
โดยเฉพาะคู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่น าสืบ เช่น จ าเลยที่ ๑ เป็นลูกจ้างและมีหน้าที่ขับรถยนต์ของ
จ าเลยที่ ๒ และได้ขับรถโดยประมาทชนโจทก์ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ ถือได้ว่าจ าเลยที่ ๑
ท าละเมิดในทางการที่จ้าง เมื่อจ าเลยที่ ๒ ต่อสู้ว่าจ าเลยที่ ๑ ลอบเอารถยนต์ไปใช้ในกิจธุระ
ส่วนตัวของจ าเลยที่ ๑ เอง จ าเลยที่ ๒ ต้องมีหน้าที่น าสืบ (ฎีกาที่ ๔๕๕/๒๕๑๒) โจทก์เป็นผู้ผลิต
และระบุองค์ประกอบรวมทั้งแสดงข้อบ่งใช้ไว้ในฉลาก ย่อมต้องมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า
ยาฆ่าเชื้ออัล - ไบโอไซด์ ๒๕ มีส่วนประกอบตามที่ระบุไว้จริง การที่ศาลชั้นต้นก าหนดให้จ าเลย
มีภาระการพิสูจน์จึงไม่ถูกต้อง และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกา
มีอ านาจแก้ไขและวินิจฉัยไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้(ฎีกาที่ ๖๐๓๔/๒๕๕๔) แม้พยาน
โจทก์ทั้งสองไม่สามารถน าสืบให้เห็นว่า จ าเลยที่ ๒ ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดและ
รักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร จ าเลยที่ ๒ เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ผ่าตัด
จ าเลยที่ ๒ มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ แต่การที่จ าเลยที่ ๒
ผ่าตัดโจทก์เป็นเหตุให้ต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขถึง ๓ ครั้ง แสดงว่าจ าเลยที่ ๒ ไม่ใช้ความระมัดระวัง
นับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจ าเลยที่ ๒ (ฎีกาที่ ๒๙๒/๒๕๔๒)
๒.๓.๑๐ หลักที่เกิดจากข้อสันนิษฐานของกฎหมายอื่น ตามบทบัญญัติของ
กฎหมายอื่น
- พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๕๑
วรรคสาม ที่ว่า หากผู้อ้างว่าเป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระท าความผิด
ตามมาตรา ๕๐ วรรคหนึ่ง เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระท าผิดมูลฐานหรือ
ความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาทรัพย์สินดังกล่าว เป็นทรัพย์สินที่
เกี่ยวกับการกระท าความผิดหรือได้รับโอนมาโดยไม่สุจริต เป็นหน้าที่ของผู้อ้างหรือผู้รับโอน
ดังกล่าวที่จะต้องน าสืบเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว (ฎีกาที่ ๔๔๒๘/๒๕๕๐)
หมายเหตุ
เป็นการฟ้องตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง ต้องฟ้องต่อศาลแพ่งและน า
ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ