Page 127 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 127
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๙๙
๒. โจทก์ฟ้องว่า จ าเลยประมาทเลินเล่อในการใช้ไฟฟ้า เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ห้องของจ าเลย
แล้วลุกลามไหม้ห้องของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกันได้รับความเสียหาย จ าเลยให้การว่า จ าเลยมิได้
ประมาทเลินเล่อ แต่เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรโดยมิใช่ความผิดของจ าเลย
ประเด็นข้อพิพาท
๑. จ าเลยประมาทเลินเล่อในการใช้ไฟฟ้าเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ห้องโจทก์เสียหาย หรือ
เหตุเกิดเพราะกระแสไฟฟ้าลัดวงจรอันเป็นเหตุสุดวิสัย
๒. ค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใด
หน้าที่น าสืบ ให้จ าเลยเป็นฝ่ายน าสืบก่อนในประเด็นข้อแรก แล้วให้โจทก์สืบแก้พร้อมกับน าสืบ
ในประเด็นข้อสอง แล้วให้จ าเลยสืบแก้
เหตุผล จ าเลยรับว่าเพลิงไหม้ห้องของโจทก์เสียหายเพราะไฟฟ้าซึ่งอยู่ในความครอบครอง
ของจ าเลย ไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ โจทก์จึงได้รับประโยชน์จาก
ข้อสันนิษฐาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๓๗ ว่าจ าเลยจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ผู้ต้อง
เสียหาย คดีนี้จ าเลยต่อสู้ว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรโดยมิใช่ความผิดของจ าเลยอันเป็นเหตุสุดวิสัย
ภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่จ าเลย จ าเลยมีหน้าที่น าสืบก่อนในประเด็นข้อแรก ส่วนประเด็น
ข้อสองภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่น าสืบก่อน (ฎีกาที่ ๗๖๒/๒๕๑๗)
๓. โจทก์ฟ้องว่า จ าเลยประมาทเลินเล่อโดยหุงข้าวแล้วไม่ดับถ่าน เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ห้อง
ของจ าเลยแล้วลุกลามไหม้ห้องของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกันได้รับความเสียหาย จ าเลยให้การว่า จ าเลย
มิได้ประมาทเลินเล่อ แต่เพลิงไหม้เพราะมีคนลอบวางเพลิง
ประเด็นข้อพิพาท
๑. จ าเลยประมาทเลินเล่อหุงข้าวแล้วไม่ดับถ่านเป็นเหตุให้เพลิงไหม้ห้องของโจทก์
เสียหายหรือไม่
๒. ค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใด
หน้าที่น าสืบ ให้โจทก์เป็นฝ่ายน าสืบก่อน
เหตุผล โจทก์กล่าวอ้างว่าจ าเลยประมาทเลินเล่อหุงข้าวแล้วไม่ดับถ่าน จ าเลยปฏิเสธ แม้จ าเลย
จะรับว่าเพลิงลุกลามจากห้องของจ าเลย จ าเลยก็ต่อสู้ว่าเหตุเกิดเพราะคนลอบวางเพลิง ไม่มี
กฎหมายสันนิษฐานให้เจ้าของห้องต้นเพลิงต้องรับผิด ภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อแรก
ย่อมตกแก่โจทก์ผู้กล่าวอ้าง ส่วนประเด็นข้อสองเรื่องค่าเสียหาย ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์
โจทก์จึงมีหน้าที่น าสืบก่อนทั้งสองประเด็น (ฎีกาที่ ๓๐๗/๒๕๐๑)