Page 118 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 118

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๙๐


                  โจทก์เสียหาย แต่โจทก์น าสืบให้เห็นจ านวนค่าเสียหายไม่เท่าจ านวนที่เรียกมาหรือไม่อาจแสดง

                  ค่าเสียหายที่แน่นอนได้ ศาลก็มีอ านาจก าหนดให้ได้ตามที่เห็นสมควร (ฎีกาที่ ๒๕๐/๒๔๘๙)

                  การฟ้องให้ใช้เงินแก่โจทก์ตามราคาที่ดินขณะฟ้อง ส่วนที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่ดินที่ตกลงท าสัญญา

                  จะซื้อขายกันนี้เป็นเงินที่โจทก์ขาดประโยชน์เนื่องจากการที่จ าเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดิน

                  ให้เป็นของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย  ถือเป็นการเรียกค่าเสียหายจากการที่จ าเลยไม่ปฏิบัติ

                  ตามสัญญา  แม้จ าเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งจ านวนเงินค่าเสียหายดังกล่าว โจทก์ผู้กล่าวอ้างก็มีหน้าที่

                  น าสืบถึงจ านวนค่าเสียหายของโจทก์ และศาลมีอ านาจพิจารณาก าหนดค่าเสียหายให้ตามที่

                  สมควร ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ก าหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน ๒๘๐,๐๐๐ บาท  จึงไม่เป็น

                  การวินิจฉัยนอกประเด็นหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น

                  (ฎีกาที่ ๒๒๕/๒๕๓๙)

                                      - ค่าเสียหายกรณีผิดสัญญา  ในสัญญาก าหนดเบี้ยปรับไว้  หากจ าเลย


                  ไม่ต่อสู้เรื่องเบี้ยปรับ โจทก์ไม่ต้องน าสืบ แต่ถ้าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจ านวน
                  พอสมควรก็ได้


                                      - เรื่องอ านาจฟ้อง จ าเลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอ านาจฟ้อง โจทก์มีหน้าที่น าสืบ

                  เพราะโจทก์ต้องแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีอ านาจฟ้องจ าเลยได้

                                      - กรณีบุคคลภายนอกร้องเข้ามาในคดี  เช่น ร้องสอดเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม

                  ร้องขัดทรัพย์ หรือร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ แม้อีกฝ่ายคัดค้าน ผู้ร้องย่อมมีหน้าที่น าสืบ

                             ๒.๓.๘  หน้าที่น าสืบตามหลักกฎหมายเฉพาะเรื่อง


                                      ๒.๓.๘.๑  หลักกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง
                                                - ถ้าทรัพย์พิพาทเป็นที่ดินมีทะเบียน ผู้มีชื่อในทะเบียนย่อมได้รับ


                  ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย  ภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่คู่ความอีกฝ่าย (ป.พ.พ.

                  มาตรา ๑๓๗๓)

                                      ตัวอย่าง

                                                -โจทก์ฟ้องว่า เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนด จ าเลยเช่าที่ดินพิพาทจาก

                  โจทก์ขอให้ขับไล่ จ าเลยต่อสู้ว่าครอบครองที่ดินพิพาทมาอย่างเป็นเจ้าของ โจทก์ออกโฉนดที่ดิน

                  โดยไม่สุจริต  ในประเด็นที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ โจทก์มีชื่อ

                  ในโฉนดที่ดินพิพาท ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

                  เมื่อจ าเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จ าเลยจึงมีหน้าที่น าสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย

                  (ฎีกาที่ ๑๖๑๖/๒๕๒๒, ๒๕๑๖/๒๕๔๙, ๓๕๕๘/๒๕๕๓, ๗๕๒๙/๒๕๔๔) โจทก์ทั้งห้ามีชื่อเป็น
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123