Page 105 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 105
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๗๗
- ถ้อยค าภาษาไทย ที่มีความหมายธรรมดา (ฎีกาที่ ๓๒๔/๒๔๙๐)
เว้นแต่ถ้อยค าที่มีความหมายเป็นพิเศษหรือรู้กันเฉพาะหมู่เหล่า (ฎีกาที่ ๒๑๘/๒๔๗๘, ๒๒๙๖/๒๕๑๔)
- ขนบธรรมเนียมประเพณี คือหลักที่ปฏิบัติในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง
(ฎีกาที่ ๑๐๔/๒๔๖๒) ประเพณีการขนส่งที่คู่สัญญาเข้าใจกันดีว่าถ้าการขนส่งเสียเวลา ผู้จ้างต้อง
ใช้ค่าเสียเวลาให้ผู้รับขน ใช้บังคับกันได้โดยไม่ต้องระบุในสัญญา เป็นการตกลงกันโดยปริยาย
(ฎีกาที่ ๘๔๕/๒๔๙๗) เว้นแต่ประเพณีการค้าของธนาคารที่ให้เรียกดอกเบี้ยทบต้น
เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องน าสืบ (ฎีกาที่ ๖๙๔/๒๕๐๖)โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยทบต้นโดยอ้างว่า
จ าเลยเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดซึ่งมีประเพณีการค้าขายให้ค านวณดอกเบี้ยทบต้นได้
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๕ วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงรับกันว่า โจทก์จ าเลยตกลงเปิด
บัญชีเดินสะพัดซึ่งมีข้อความว่าจ าเลยยอมรับว่ามีประเพณีการค้าให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้น
ในกรณีนี้ได้ โจทก์ไม่ต้องน าสืบถึงประเพณีดังกล่าวอีก (ฎีกาที่ ๓๑๓๔/๒๕๒๙)
- สิ่งธรรมดาธรรมชาติ เช่น พระจันทร์จะเริ่มขึ้นในวันไหนเวลาใด
เป็นหน้าที่ศาลจะต้องรู้เองเพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปตามปกติวิสัยธรรมดาของโลกที่รู้กันทั่วไป
(ฎีกาที่ ๗๗๕/๒๔๙๑, ๘๒/๒๕๑๕, ๖๙๑๘/๒๕๔๐) วันเดือนปีใดตรงกับวันอะไร เป็นข้อเท็จจริง
ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไป คู่ความไม่ต้องน าสืบ (ฎีกาที่ ๕๗๔๒/๒๕๓๘)
- กิจการความเป็นไปของบ้านเมือง เช่น วันใดเป็นวันหยุดราชการหรือไม่
ศาลย่อมรู้ได้เอง (ฎีกาที่ ๒๒๒๒/๒๕๑๘, ๔๖๙/๒๕๒๖, ๓๒๓๐/๒๕๓๒, ๘๘๗๔/๒๕๔๓)
ประกาศกฎอัยการศึก การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี ใครเป็นรัฐมนตรี ข้อเท็จจริงได้ถูกน าลงใน
ราชกิจจานุเบกษา คู่ความเพียงแต่กล่าวอ้างไว้ในค าคู่ความ หรือแถลงให้ศาลทราบว่าประกาศใน
เล่มใด ตอนใด โดยไม่จ าต้องน าสืบพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร ประกาศกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ฯก าหนดเวลาห้ามล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้วย่อมถือได้ว่า
เป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไป โจทก์ไม่ต้องสืบว่าจ าเลยทราบประกาศดังกล่าวอีก (ฎีกาที่ ๒๗๙๑/๒๕๑๖)
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งมีผลใช้บังคับอย่างกฎหมาย ประกาศ
ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าเป็นที่ทราบกันทั่วไป ไม่ต้องน าสืบพยาน (ฎีกาที่ ๗๗๙/๒๕๑๙)
- ประกาศกระแสพระบรมราชโองการให้ใช้สัญญาว่าด้วยการเดินรถไฟ
ระหว่างพระราชอาณาจักรสยามกับกลันตัน ไทรบุรี เปอร์ลิศ และสหรัฐมลายู ลงวันที่ ๒๔
ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ และเพิ่มเติมค าพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อต่าง ๆ จนถึงปี
๒๕๕๕