Page 104 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 104
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๗๖
ประเด็นตามค าฟ้องและค าให้การด้วย เพราะประเด็นข้อพิพาทก็เกิดจากค าฟ้องและค าให้การ
นั่นเอง
๕. ข้อที่ควรระมัดระวังในการก าหนดประเด็นข้อพิพาทอีกประการหนึ่ง
ก็คือ จะต้องไม่ก าหนดประเด็นข้อพิพาทนอกเหนือไปจากค าฟ้องและค าให้การ เช่น กรณีที่พิพาท
เกี่ยวกับที่ดินการที่จ าเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจ าเลยมาตั้งแต่ต้น คดีย่อมไม่มีประเด็น
ข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗๕ (ฎีกาที่ ๔๙๓๖/๒๕๓๖,
๑๕๖/๒๕๓๗, ๖๓๑๓/๒๕๓๗, ๓๓๘๗/๒๕๓๘, ๖๖๙๒/๒๕๓๙, ๔๓๖/๒๕๔๔,
๒๖๑/๒๕๔๕) หรือไม่มีประเด็นในเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา ๑๓๘๒ (ฎีกาที่
๔๖๐๗/๒๕๔๐ ประชุมใหญ่)
๒.๓ การก าหนดหน้าที่น าสืบหรือภาระการพิสูจน์
เมื่อมีการก าหนดประเด็นข้อพิพาทแล้ว ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่ามีข้อเท็จจริงใน
ประเด็นข้อพิพาทใดบ้างที่จะต้องน าสืบ หากมีก็ต้องก าหนดหน้าที่น าสืบซึ่งคู่ความอาจตกลงกัน
ถ้าไม่ตกลงกันศาลก็ต้องก าหนดโดยพิเคราะห์ถึงภาระการพิสูจน์ตามมาตรา ๘๔, ๘๔/๑
หากภาระการพิสูจน์ตกแก่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายนั้นก็มีหน้าที่น าสืบ และอีกฝ่ายมีสิทธิน าสืบแก้
มีข้อสังเกตดังนี้
๒.๓.๑ คู่ความมีหน้าที่น าสืบเฉพาะประเด็นข้อเท็จจริงเท่านั้น ส่วนประเด็น
ข้อกฎหมายศาลวินิจฉัยได้เองโดยไม่จ าต้องสืบพยาน
๒.๓.๒ ในคดีที่มีเฉพาะประเด็นข้อกฎหมาย ศาลก็ไม่ต้องก าหนดหน้าที่น าสืบ
แต่จะสั่งงดสืบพยาน และพิพากษาคดีไปเสียทีเดียว
๒.๓.๓ หากคู่ความท้ากันและอยู่ภายในขอบเขตแห่งการพิจารณาความ ศาลก็
ไม่ต้องก าหนดหน้าที่น าสืบ เพราะการท้ากันก็เท่ากับคู่ความรับกันโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
เมื่อคู่ความปฏิบัติตามค าท้าเป็นประการใด ศาลก็พิพากษาคดีไปตามที่คู่ความท้ากันนั้น
โดยไม่จ าต้องวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาท
๒.๓.๔ แม้เป็นประเด็นข้อเท็จจริง หากกรณีต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา ๘๔ คู่ความ
ก็ไม่ต้องน าสืบ คือ
๒.๓.๔.๑ ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป
จากคู่มือการชี้สองสถาน กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๓๑ ก่อนแยกจากศาลยุติธรรมโดยมีศาสตราจารย์ศักดิ์
สนองชาติ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งเป็นประธานกรรมการในการจัดท า โดยปรับปรุงมาตราต่าง ๆ ให้ตรงกับประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๑ ที่ตรวจช าระใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย