Page 103 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 103

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๗๕


                             ๒.๒.๒  การก าหนดประเด็นข้อพิพาทโดยศาลเป็นผู้ก าหนด

                                      ตามมาตรา ๑๘๓ วรรคหนึ่ง ในการชี้สองสถานก าหนดประเด็นข้อพิพาท

                  ให้ศาลตรวจค าคู่ความและฟังค าแถลงของคู่ความตามที่คู่ความแถลงเอง หรือตอบค าถามของศาล

                  ทั้งนี้เพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาท

                                      การตรวจค าคู่ความก็คือ การตรวจค าฟ้อง ค าให้การหรือค าร้องทั้งหลายที่ยื่น

                  ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ ทางปฏิบัติก่อนที่ศาลจะออกชี้สองสถานย่อมจะต้องตรวจ

                  ค าฟ้องและค าให้การอยู่แล้ว  มิฉะนั้นก็คงก าหนดประเด็นไม่ถูก  แต่เพื่อตัดปัญหาว่าได้มีการ

                  ชี้สองสถานโดยชอบหรือไม่ ควรจะจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้เสียให้ชัดว่าศาลได้ตรวจ

                  ค าคู่ความแล้ว

                                      การฟังค าแถลงของคู่ความ โดยปกติศาลจะต้องถามให้คู่ความตอบ  คู่ความ

                  มักไม่แถลงเองเพราะค าแถลงของคู่ความที่แถลงเองนั้นอาจไม่ตรงตามประเด็นข้อพิพาท


                  ที่แท้จริง ดังนั้น ถ้าคู่ความแถลงและศาลเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็น แห่งคดีก็ไม่ควรจดไว้
                  เพราะไม่อาจก าหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทได้


                                      วิธีการก าหนดประเด็นข้อพิพาท

                                      ในการก าหนดประเด็นข้อพิพาท ควรค านึงในข้อต่อไปนี้

                                      ๑. ประเด็นข้อพิพาทเกิดจากค าฟ้อง ค าให้การ  หากคู่ความไม่สละและ
                                                                                    ๒

                  ไม่รับกันหรือมิใช่กรณีที่ศาลสอบถามแล้ว  คู่ความไม่ยอมตอบหรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่

                  มีเหตุผลอันสมควรแล้ว ศาลก็ต้องจดลงไว้เป็นประเด็นข้อพิพาททั้งหมด

                                      ๒. ประเด็นข้อพิพาทมีทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต้องก าหนดไว้

                  ให้ครบถ้วนทุกข้อ ส่วนภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงจะตกแก่ฝ่ ายใดหรือฝ่ ายใดมีหน้าที่

                  น าพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนหรือหลังเป็นอีกปัญหาหนึ่ง

                                      ๓ .  ประเด็นข้อพิพาทจะต้องมีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี

                  ถ้าข้อโต้เถียงใดที่ไม่กระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ศาลไม่พึงก าหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท

                  (ฎีกาที่ ๕๕๖/๒๕๐๑, ๒๙๔๐/๒๕๒๖, ๓๓๒๘/๒๕๓๐)

                                      ๔. ประเด็นข้อพิพาทควรก าหนดเป็นรูปปัญหา มีข้อความสั้น ๆ และ

                  ครอบคลุมปัญหาที่โต้เถียงกัน และใช้ถ้อยค าในกฎหมาย ส่วนการน าสืบของคู่ความก็ต้องอยู่ใน





                         ๒  ค าฟ้องและค าให้การ ดังกล่าวหมายความรวมถึง ค าร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมค าฟ้องที่ศาลอนุญาตแล้ว
                  ฟ้องแย้ง ค าร้องสอด  ค าร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมค าให้การที่ศาลอนุญาตแล้ว และค าให้การแก้ฟ้องแย้ง

                  ตาม ป.วิ.พ.  มาตรา ๑(๓), (๔)
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108